วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (electron microscope)

ยังมีกล้องจุลทรรศน์อีกประเภทหนึ่ง ที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง มีกำลังขยายสูงมาก มันจะแตกต่างจากกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงธรรมดา อย่างไร ไปดูกันเลย


กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (electron  microscope)
กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน  หรือ E.M. ประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกในประเทศเยอรมัน  เมื่อปี พ.ศ. 2475  โดยนักวิทยาศาสตร์ 2 ท่าน  คือ แมกซ์  นอลล์ (max  Knoll)  และเอิร์นสท์  รุสกา (Ernst  Ruska)  โดยแสงที่ใช้เป็นลำแสงอิเล็กตรอน  ซึ่งมีขนาดเล็กมากจึงทำให้มีกำลังขยายสูงมาก  ลำแสงอิเล็กตรอนมีความยาวคลื่นประมาณ 0.05  อังสตรอม (A) (1  A  =  10-4 ไมโครเมตร)  ดังนั้นจึงทำให้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนมีค่ารีโซลูชัน หรือ resolving  power  ประมาณ 0.0004  ไม่โครเมตร  และมีกำลังขยายถึง 500,000 เท่า  หรือมากกว่า


 ระบบเลนส์เป็นเลนส์แม่เหล็กไฟฟ้า(electromagnetic lens) แทนเลนส์แก้วในกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา  เลนส์แม่เหล็กไฟฟ้าประกอบด้วยขดลวดพันรอบแท่งเหล็ก เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านเข้าไปทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้น (electromagnetic  field)  สนามแม่เหล็กไฟฟ้าทำให้ลำแสงอิเล็กตรอนเข้มข้นเพื่อให้ตกที่ตัวอย่างวัตถุที่จะศึกษาเลนส์ของกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ประกอบด้วย เลนส์รวมแสง(objective)  และ Projector lens โดย projector lens ทำหน้าที่ฉายภาพจากตัวอย่างที่ศึกษาลงบนจอภาพ (ทำน้าที่คล้ายกับ eye piece ของกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา)จอภาพฉาบด้วยสารเรืองแสงพวกฟอสฟอรัสเมื่อลำแสงอิเล็กตรอนตกลงบนจอจะทำให้เกิดเรืองแสงเป็นแสงสีขาวแกมเหลืองที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ผู้ศึกษาก็สามารถมองเห็นภาพบนจอได้ และก็สามารถบันทึกภาพนั้นด้วยกล้องถ่ายรูป  ซึ่งประกอบอยู่กับกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนได้
กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนในปัจจุบันมี  2  ชนิด  คือ
(1)  กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องผ่าน (transmission  electron  microscope)  เรียกย่อว่า TEM  ซึ่งเอิร์นสท์ รุสกา  สร้างได้เป็นคนแรกเมื่อ ปี พ.ศ. 2475  ใช้ในการศึกษาโครงสร้างภายในของเซลล์  โดยลำแสงอิเล็กตรอนจะส่องผ่านเซลล์หรือตัวอย่างที่ศึกษาซึ่งต้องมีการเตรียมกันเป็นพิเศษ  และบางเป็นพิเศษด้วย
(2)  กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด (scanning  electron  microscope)  เรียกย่อว่า SEM  เอ็ม  วอน  เอนเดนนี่  (M. Von  Andenne)  สร้างสำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2481  โดยใช้ศึกษาผิวของเซลล์หรือผิวของตัวอย่างวัตถุที่นำมาศึกษา  โดยลำแสงอิเล็กตรอน  จะส่องกราดไปบนผิวของวัตถุ  ทำให้ได้ภาพซึ่งมีลักษณะเป็นภาพ 3 มิติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น