วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การสื่อสารระหว่างสัตว์ - การสื่อสารด้วยสารเคมี


การสื่อสารด้วยสารเคมี chemical communication)  มีความสำคัญมากในสัตว์ต่าง ๆ  แต่ในคนมีความสำคัญน้อย  สัตว์ต่าง ๆ จะสร้างสารเคมีที่เรียกว่าฟีโรโมน (pheromone)ใช้ในการติด ต่อสื่อสารในสัตว์ชนิดเดียวกันแบ่งออกเป็น
(1)ฟีโรโมนที่ทำให้เกิดพฤติกรรมทันที(releaser  pheromone) เช่นสารดึงดูดเพศตรงข้า(sex  attractants)   เช่น ฟีโรโมนที่ผีเสื้อไหมตัวเมียปล่อยออกมาเพื่อดึงดูด  ความสนใจของผีเสื้อไหมตัวผู้
(2) ฟีโรโมนที่ไปกระตุ้น  แต่ไม่เกิดพฤติกรรมทันที (primer pheromone) ฟีโรโมนชนิดนี้จะไปกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา และเกิดพฤติกรรมในเวลาต่อมา  เช่น  ฟีโรโมนของหนูตัวผู้ชักนำให้หนูตัวเมียเป็นสัดและพร้อมที่จะผสมพันธุ์ฟีโรโมนของแมลงส่วนใหญ่เป็นสาทรพวกแอลกอฮอล์โมเลกุลสั้น ๆ  จะระเหยไปในอากาศได้ดี  จึงสามารถไปกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมต่าง ๆ  ได้  ฟีโรโมนที่สำคัญ ได้แก่
1.ฟีโรโมนทางเพศ   (sex  pheromone)  พบในแมลงหลายาชนิด  เช่น  ผีเสื้อไหมตัวเมียจะปล่อยสารแอลกอฮอล์เรียกว่า  บอมบายโกล  (Bombygol)   เพื่อดึงดูดผีเสื้อไหมตัวผู้ให้มาหาและเกิดการผสมพันธุ์  ผีเสื้อไหมตัวผู้จะมีหนวด  ซึ่งมีลักษระเหมือนฟันหวีเป็นอวัยวะรับกลิ่น  ฟีโรโมนชนิดนี้มักมีประสิทธิภาพสูงทำให้ดึงดูดเพศตรงข้ามได้ แม้ว่าจะอยู่ไกล ๆ  ในปัจจุบันมีการสังเคราะห์สาร เช่น ยูจีนอล  (eugenol)   ซึ่งเลียนแบบฟีโรโมนธรรมชาติ  เพื่อดึงดูดแมลงวันทองหรือแมลงวันผลไม้ให้มารวมกันเพื่อกำจัดแมลงได้ครั้งละมาก ๆ
2.ฟีโรโมนปลุกระดม  (aggregation  pheromone)  เป็นสารที่ใช้ประโยชน์ในการปลุกระดมให้มารวมกลุ่มกันเพื่อกินอาหารนผสมพันธุ์หรือวางไข่ในแหล่งที่เหมาะสม  เช่น  ด้วงที่ทำลายเปลือกไม้  (bark  beetle)  ปล่อยฟีโรโมนออกมาเพื่อรวมกลุ่มกันยังต้นไม้ที่เป็นอาหารได้
3.ฟีโรโมนเตือนภัย  (alarm  pheromone)   สารนี้จะปล่อยออกมาเมื่อมีอันตราย  เช่น  มีผู้บุกรุก  ผึ้งหรือต่อที่ทำหน้าที่เป็นทหารยาม จะปล่อยสารเคมีออกมาให้ผึ้งหรือต่อในรังรู้ ผึ้งเมื่อต่อยผู้บุกรุกแล้วจะปล่อยสารเคมีเตือนภัยเรียกว่า ไอโซเอมิลแอซิเตต (isoamyl  acetate)  ไปให้ผึ้งตัวอื่นรู้เพื่อจะได้ช่วยกันต่อสู้ศัตรูที่บุกรุกเข้ามา
4.ฟีโรโมนตามรอย  (trail  pheromone)   เช่น  สุนัข  จะปล่อยสารฟีโรโมนไปกับปัสสาวะตลอดทางที่ผ่านไป  เพื่อเป็นเครื่องหมายนำทางและประกาศเขตแดน  ผึ้งและมดจะผลิตสารจากต่อมดูเฟอร์  (Dufour’s  gland)  ซึ่งอยู่ติดกับต่อมเหล็กในทำให้สามารถตามรอยไปยังแหล่งอาหารได้   ผึ้งยังใช้สารที่สะสมจากดอกไม้เรียกว่า เจรานิออล  (geraniol)   เป็นสารในการตามรอยด้วย
5.ฟีโรโมนนางพญา  (queen -  substance  pheromone)   สาราชนิดนี้พบในแมลงสังคม (social  insect)   เช่น  ผึ้ง  ตัวต่อ  แตน  มด  ปลวก   สารชนิดนี้ทำหน้าที่ในการควบคุมสังคม ฟีโรโมนของนางพญาผึ้งคือ  สารที่มีฤทธิ์เป็นกรดคือ  กรดคีโตเดเซโนอิก  (keto – decenoic  acid)
สารนี้จะปล่อยออกจากตัวนางพญา  เมื่อผึ้งงานทำความสะอาดนางพญาจะได้รับกลิ่นทางหนวดและเมื่อเลียตัวนางพญาก็จะได้กินสารนี้ด้วย  ทำให้ผึ้งงานเป็นหมันและทำงานตลอดไป  นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นฟีโรโมนทางเพศ  กระตุ้นให้ผึ้งตัวผู้ผสมพันธุ์ด้วย  และยังควบคุมไม่ให้ผึ้งงานผลิตผึ้งนางพญาตัวใหม่ด้วย   ดังนั้น รังผึ้งจึงมีนางพญาเพียงตัวเดียว
สารเคมีที่ทำหน้าที่ในการป้องกันตัวช่วยให้ปลอดภัยเรียกว่า  แอลโลโมน  (allomone)   เช่น  ตัว สกั๊ง จะปล่อยกลิ่นที่เหม็นมากออกมาจากต่อมทวารหนัก  แมลงตดเมื่ออยู่ในภาวะอันตรายจะปล่อยสารเคมีที่มีฤทธิ์เป็นกรดและมีกลิ่นเหม็นมากเพื่อป้องกันตัวทำให้ศัตรูละทิ้งไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น