วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การใช้กล้องจุลทรรศน์

กล้องจุลทรรศน์

วันนี้นำเสนอเกี่ยวกับเรื่องของการใช้กล้องจุลทรรศน์ กันนะคะ เมื่อเรารู้ประวัติ ชนิดประเภทของกล้อง ส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์กันแล้ว ซึ่งการใช้กล้องจุลทรรศน์มีขั้นตอนดังนี้

1.การจับกล้องใช้มือหนึ่งจับที่แขนของกล้องและใช้อีกมือหนึ่งรองรับที่ฐาน
2.ตั้งลำกล้องได้ตรงเสมอเพื่อป้องกันไม่ให้ส่วนประกอบเช่น  กระจกเงา และเลนส์ใกล้ตาเลื่อนหลุดจากตำแหน่งได้
3.หมุนเลนส์ใกล้วัตถุให้เป็นเลนส์ที่มีกำลังขยายต่ำสุดให้อยู่ในตำแหน่งแนวของลำกล้อง
4.ปรับกระจกเงา  หรือเปิดไฟเพื่อให้แสงเข้าลำกล้องได้เต็มที่
5.นำแผ่นสไลด์ที่จะศึกษาวางบนแท่นวางวัตถุ  ให้วัตถุอยู่บริเวณกึ่งกลางบริเวณที่แสงผ่าน(แผ่นสไลด์และกระจกปิดแผ่นสไลด์ (cover  glass)  จะต้องเช็ดให้แห้งเสมอ)
6.มองด้านข้างตามแนวระดับแท่นวางวัตถุค่อยๆ หมุนปรับภาพหยาบให้เลนส์ใกล้  วัตถุอยู่เลื่อนลงมาอยู่ใกล้ๆ  กระจกปิดสไลด์  (แต่ต้องระวังไม่ให้เลนส์สัมผัสกับกระจกปิดสไลด์  ซึ่งจะทำให้เลนส์และแผ่นสไลด์  กระจกปิดสไลด์เกิดแตกหัดเสียหายได้)
7.  มองที่เลนส์ใกล้ตาค่อยๆ ปรับปุ่มปรับภาพหยาบให้กล้องเลื่อนขึ้นช้าๆ  เพื่อหาระยะภาพ  เมื่อได้ภาพแล้วให้หยุดหมุน  ตรวจดูแสงสว่างมากหรือน้อยไปหรือไม่  ให้หรับไดอะแฟรม  เพื่อให้ได้แสงที่พอเหมาะ
8.มองที่เลนส์ใกล้ตาหมุนปุ่มปรับภาพละเอียดเพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น  ถ้าวัตถุที่ศึกษาไม่อยู่ตรงกลางให้เลื่อนแผ่นสไลด์เล็กน้อยจนเห็นวัตถุอยู่ตรงกลางพอดี
9.  ถ้าต้องการให้ภาพขยายใหญ่ขึ้นก็หมุนเลนส์อันที่กำลังขยายสูงขึ้นเข้าสู่แนวลำกล้อง  แล้วปรับความชัดเจนด้วยปุ่มปรับภาพละเอียดเท่านั้น

10.  บันทึกกำลังขยายโดยหาได้จากผลคูณของกำลังขยายของเลนส์ใกล้ตาและเลนส์ใกล้วัตถุอันที่เรากำลังศึกษาอยู่  แล้วบันทึกภาพ


11.  หลังจากใช้กล้องจุลทรรศน์แล้ว  ให้ปรับกระจกเงาให้อยู่ในแนวดิ่งตั้งฉากกับตัวกล้อง  เลื่อนที่หนีบสไลด์ให้ตั้งฉากกับที่วางวัตถุ  หมุนเลนส์ใกล้วัตถุให้เป็นอันที่มีกำลังขยายสูดอยู่ในตำแหน่งของลำกล้องและเลื่อนลำกล้องให้อยู่ตำแหน่งต่ำสุด  เช็ดทำความสะอาดส่วนที่เป็นโลหะด้วยผ้านุ่มๆ  และสะอาด  แล้วจึงนำกล้องเข้าเก็บในตำแหน่งที่เก็บกล้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น