ราก ( root ) คือ
ส่วนของพืชที่มักเจริญหรืองอกลงสู่ใต้ดินหรือตามแรงโน้มถ่วงของโลก ( positive
gravitropism ) รากพืชทำหน้าที่ดูดน้ำและลำเลียงน้ำจากพื้นดินขึ้นสู่ส่วนบนของต้นพืช
รากของพืชแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ
1.ระบบรากฝอย (fibrous root) พืชที่มีระบบรากฝอยได้แก่
พืชใบเลี้ยงเดี่ยวทุกชนิด ลักษณะของรากฝอยมีขนาดเล็กเรียวและยาวเท่าๆ กัน
รากฝอยงอกออกจากโคนต้นพืชเป็นกระจุก มีจำนวนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของพืช
ของดินได้กว้างและลึกกว่ารากฝอยของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมาก
2.ระบบรากแก้ว (tap root) เป็นระบบรากของพืชใบเลี้ยงคู่
รากแก้วเป็นรากที่งอกออกมาจากรากแรกเกิดหรือแรดิเคิล ( radical ) ของต้นอ่อนในเมล็ด รากแก้วมีขนาดใหญ่กว่ารากชนิดอื่นๆ
และสามารถหยั่งลงไปในดินได้ลึกกว่ารากฝอยมากจากรากแก้วมีรากแขนง ( lateral
root )
แตกออกไปอีกเป็นจำนวนมากทำให้รากพืชใบเลี้ยงคู่แพร่กระจายไปตามส่วนต่างๆ
ของดินได้กว้างและลึกกว่ารากฝอยของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมาก
(3) บริเวณเซลล์ที่มีการยืดตัว (zone of cell elongation) เป็นบริเวณที่อยู่ถัดจากเนื้อเยื่อเจริญโดยเซลล์ที่ได้จากการแบ่งตัวมีการขยายขนาดและยืดตัวตามความยาวของราก ดังนั้นเซลล์บริเวณนี้จึงยาวกว่าเซลล์บริเวณอื่นๆ และทำให้ปลายรากยาวขึ้นด้วย
ที่บริเวณส่วนปลายของรากพืช ประกอบด้วยส่วนต่างๆ 4 ส่วน คือ
(1) บริเวณหมวกราก (root cap)
เป็นส่วนปลายที่สุดของราก
หมวกรากมีหน้าที่ในการปกคลุมป้องกันไม่ให้เซลล์ที่บริเวณปลายรากถูกทำลายเซลล์หมวกรากมีสารเมือกซึ่งเป็นพอลิแซ็กคาไรด์ช่วยป้องกันอันตรายจากสารต่างๆในดิน ป้องกันไม่ให้ปลายรากแห้งและช่วยละลายแร่ธาตุด้วย เซลล์ส่วนที่อยู่ด้านนอกของหมวกรากและบุบสลายอยู่เสมอ
เนื่องจากรากเจริญและหยั่งลึกลงไปในดิน
ดังนั้นส่วนของเซลล์ที่บริเวนปลายรากจึงต้องแบ่งตัวสร้างหมวกรากขึ้นมาแทนอยู่เสมอด้วย
ดังนั้นที่ปลายรากจึงมีส่วนของหมวกรากหุ้มอยู่ตลอดเวลา
(2) บริเวณเซลล์แบ่งตัวหรือบริเวณเนื้อเยื่อเจริญ
(meristermatic zone)
เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากหมวกรากขึ้นมา เซลล์บริเวณนี้คือเนื้อเยื่อเจริญปลายราก ( apical
meristem)
เซลล์มีแบ่งตัวอยู่ตลอดเวลาทำให้รากเจริญและขยายขนาดยาวขึ้น เซลล์มักมีขนาดเล็ก
ผนังเซลล์บาง ภายในมีโพรโทพลาซึมปริมาณมากเมื่อแบ่งเซลล์จะได้หมวกรากและเซลล์ที่มีรูปร่างยาวขึ้น
(3) บริเวณเซลล์ที่มีการยืดตัว (zone of cell elongation) เป็นบริเวณที่อยู่ถัดจากเนื้อเยื่อเจริญโดยเซลล์ที่ได้จากการแบ่งตัวมีการขยายขนาดและยืดตัวตามความยาวของราก ดังนั้นเซลล์บริเวณนี้จึงยาวกว่าเซลล์บริเวณอื่นๆ และทำให้ปลายรากยาวขึ้นด้วย
(4)
บริเวณขนราก (root hair zone)
เป็นบริเวณปลายรากที่มีขนรากยื่นออกมามาก บริเวณนี้เซลล์ไม่มีการยืดตัวแล้ว
แต่เป็นบริเวณที่มีการดูดน้ำและแร่ธาตุให้แก่พืชจึงเป็นบริเวณที่มีความสำคัญต่อพืชเป็นอย่างมาก
บริเวณขนรากและบริเวณที่อยู่เหนือขนรากขึ้นมาเซลล์บริเวณนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปเพื่อทำหน้าที่ต่างๆ
มีการเปลี่ยนแปลงทั้งส่วนประกอบภายในและรูปร่างเพื่อให้เหมาะสมกับหน้าที่ เช่น
ท่อลำเลียงน้ำหรือไซเลม (xylem) ท่อลำเลียงอาหาร
หรือโฟลเอ็ม ( phloem)
ขนรากเป็นส่วนของเซลล์เอพิเดอร์มิส (epidermal cell)
ที่ยื่นออกมาจากรากทำหน้าที่ดูดน้ำให้แก่พืช ขนรากเป็นเซลล์ที่มีแวคิวโอลขนาดใหญ่
ทำให้บรรจุน้ำ แร่ธาตุและสารต่างๆได้มาก นอกจากนี้การที่ขนรากยื่นออกมาจากรากทำให้พื้นที่ผิวสัมผัสระหว่างขนรากกับน้ำและแร่ธาตุต่างๆ
เพิ่มมากขึ้น
จึงทำให้ดูดน้ำและแร่ธาตุได้มากขึ้นด้วยจนเพียงพอแก่ความต้องการของพืช
(5) บริเวณเซลล์เจริญเติบโตเต็มที่ (region of maturation)
อยู่ในบริเวณขนรากและบริเวณส่วนที่ถัดขึ้นไปและเป็นบริเวณที่เป็นเนื้อเยื่อถาวร
เนื้อเยื่อพืชทั้งพืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
เมื่อตัดตามขวางตรงบริเวณที่เจริญเติบโตเต็บที่แล้วจะพบบริเวณต่างๆ
ของเนื้อเยื่อเรียงจากด้านนอกเข้าได้ในเป็นชั้นๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น