วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เนื้อเยื่อถาวร (permanent tissue)


เนื้อเยื่อถาวร (permanent tissue) เป็นเนื้อเยื่อซึ่งเกิดจากเนื้อเยื่อเจริญและได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและส่วนประกอบของเซลล์เพื่อทำหน้าที่ตามแต่ละชนิดของเนื้อเยื่อถาวรแบ่งออกเป็น
1. เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว (simple permanent tissue) เป็นเนื้อเยื่อถาวรซึ่งเป็นเซลล์ชนิดเดียวประกอบด้วย
1.1 เอพิเดอร์มิส (epidermis) เป็นเซลล์ชั้นที่อยู่นอกสุดเป็นเซลล์เพียงชนิดเดียวและปกคลุมอยู่ทุกส่วนของพืช เซงง์มีลักษณะเป็นรูปเหลี่ยมที่ผิวเซลล์มีพวกสารขี้ผึ้งหรือคิวทิน (cutin) ฉาบอยู่เพื่อป้องกันการระเหยของน้ำ
1.2 พาเรงคิมา (parenchyma) เป็นเซลล์ขนาดใหญ่ที่มีผนังเซลล์บางๆ รูปร่างค่อนข้างกลมหรือหลายเหลี่ยมมีแวคิวโอลใหญ่ทำให้เก็บน้ำและอาหารได้มาก พบเซลล์ พวกนี้ได้ตามส่วนอ่อนทั่วไปในต้นพืชพาเรงคิมาบางเซลล์มีเม็ดคลอโรพลาสต์อยู่ด้วยทำให้สังเคราะห์อาหารได้ และบางเซลล์ก็ทำหน้าที่ในการเก็บสะสมอาหารจำพวกแป้งให้แก่พืช เซลล์เมื่อเรียงตัวติดกันทำให้เกิดช่องว่างระหว่างเซลล์ขึ้น
1.3 คอลเลงคิมา (collenchyma) เป็นเซลล์ที่มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับพาราคิมาเซลล์ มีผนังหนาเพราะมีพวกสารเพกทิน (pectin)มาเกาะอยู่ ช่วยให้พืชแข็งแรงและเหนียวขึ้น พบได้ตามส่วนที่ต้องการความเหนียว เช่น ด้านที่ใบ และบริเวณส่วนมุม หรือขอบเหลี่ยมในต้นพืช
1.4 สเกลอเรงคิมา (sclerenchyma) เป็นเซลล์ที่ช่วยให้พืชแข็งแรง เมื่อแก่ตัวจะเป็นเซลล์ที่ตายแล้ว ได้แก่ เซลล์ไฟเบอร์ ( fiber ) ซึ้งเป็นเซลล์เส้นใย ยาวและเหนียวมาก เช่น เส้นใยต่างๆ เซลล์หิน  (stone cell) เป็นเซลล์ป้อมๆ ผนังหนาเพราะมีสารพวกลิกนิน (lignin) มาเกาะอยู่ พบเซลล์พวกนี้ได้ที่กะลามะพร้าว เปลือกหุ้มเมล็ดเซลล์สเกลอรีด (sclereid) คล้ายไฟเบอร์ เซลล์ไม่ยาวยาวมากมัก อยู่ตามส่วนที่แข็งๆของเปลือกต้นไม้เปลือกหุ้มเมล็ดและเนื้อผลไม้ที่สากๆ
1.5 เอนโดเดอร์มิส (endodermis) เป็นเซลล์ที่พบอยู่ด้านนอกของเนื้อเยื่อลำเลียงขอกราก มีรูปคล้ายเซลล์พาราคิมา แต่ผนังเซลล์มีสารลิกนินและซูเบอริน (suberin) มาพอกหนา และเซลล์เรียงตัวกันแน่นมากทำให้ไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์เกิดขึ้นเลย

1.6 คอร์ก (cork) เป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกสุดของลำต้นและรากของพืชใบเลี้ยงคู่ ซึ่งมีการเจริญเติบโตขึ้นที่สอง (secondary growth) ส่วนของผนังเซลล์มีสารซูเบอริน สะสมบนลิกนิน และพอกหนาน้ำผ่านไม่ได้ ช่วยป้องกันการระเหยของน้ำภายในเซล์ซูเบอรินมีสีน้ำตาล ทำให้เปลือกไม้มีสีน้ำตาลไปด้วย
2. เนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน (complex permanent tissue เป็นเนื้อเยื่อถาวรที่ประกอบด้วยเซลล์หลายชนิดมารวมกันเพื่อทำหน้าที่ร่วมกัน ประกอบด้วย
2.1 ท่อน้ำหรือไซเลม (xylem) ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำและเกลือแร่จากรากขึ้น สู่ส่วนของพืชที่อยู่สูงขึ้นไป ท่อน้ำประกอบด้วยเซลล์ 4 ชนิด คือ
( 1 ) เทรคีด (tracheid) เป็นเซลล์ที่มีรูปร่างยาว แหลมหัว แหลมท้าย บริเวณปลายเซลล์จะซ้อนเหลื่อมกัน ผนังเซลล์หนาเพราะมีสารต่างๆ มาเกาะกัรมากตามผนังเซลล์มีรู (pith) ทำให้น้ำไหลติดต่อกัน ระหว่างเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หน่งได้เทรคีดเป็นเซลล์ที่ตายแล้ว ในพวกจิมโนสเปิร์ม(gymnosperm) เช่น พวกสนสองใบ สนสามใบ ท่อน้ำจะมีเฉพาะเทรคีดเท่านั้น
( 2 ) เวสเซล (vessel) เป็นเซลล์ของไซเลมที่มีขนาดใหญ่กว่าเทรคีดเซลล์ เป็นรูปทรงกระบอกต่อกันที่ต่อจะทำลุถึงกัน เวสเซลที่ตายแล้ว ดังนั้นสารพวกโพรโทพลาซึมจึงสลายไปทำให้ลำเลียงน้ำต่อจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งได้ตลอดส่วนของรากและลำต้นเวสเซลมีผนังเซลล์หนาเนื่องจากมีสารพวกลิกนินมาเกาะ ความหนาของเวสเซลไม่เท่ากันจึงทำให้แบ่งเวสเซลออกเป็นหลายแบบ
( 3 ) ไซเลมพาเรงคิมา (xylem parenchyma) เป็นเซลล์พาเรงคิมาที่แทรกอยู่ในไซเลมเป็นเซลล์ที่มีผนังบางและยังมีชีวิตอยู่ในไซเลมพาเรงคิมาที่เรียงตัวตามขวางกับเซลล์อื่นเรียกว่า ไซเลมเรย์ (xylem ray) ช่วยลำเลียงน้ำไปทางด้านข้าง
( 4 ) ไซเลมไฟเบอร์ (xylem fiber) เป็นไฟเบอร์ที่แทรกอยู่ในไซเลมเป็นเซลล์ที่ตายแล้วเซลล์แหลมหัวแหลมท้าย ยาวเป็นเส้นใยช่วยให้ต้นพืชมีความแข็งแรงและทนทานมากขึ้น
2.2 ท่ออาหารหรือโฟลเอ็ม (phloem) ทำหน้าที่ลำเลียงอาหารที่สร้างได้ไปยังส่วนต่างๆ ของพืชท่ออาหารประกอบด้วยเซลล์ 4 ชนิด คือ
( 1 ) ซัฟทิวบ์เมมเบอร์ (sieve tube member) มีลักษณะเป็นท่อตะแกรงขนาดใหญ่และยาว เซลล์เป็นรูปทรงกระบอกต่อกัน ที่รอยต่อบริเวณปลายเซลล์เป็นรูปตะแกรง หรือซีฟเพลต (sieve plate) ทำให้ลำเลียงสารผ่านเซลล์ได้ ซีฟทิวบ์ที่แก่แล้วนิวเคลียสจะสลายไปแต่เซลล์ยังมีชีวิตอยู่ ไซโทพลาซึมของซีฟทิวบ์จะมีการเคลื่อนไหวแบบไซโคลซิส (cyclosis) จึงเชื่อว่ามีความสำคัญต่อการลำเลียงอาหารด้วย
( 2 ) คอมพาเนียนเซลล์ (companion cell) เป็นเซลล์ที่อยู่ข้างเคียงกับซีฟทิวบ์เป็นเซลล์ขนาดเล็กมีนิวเคลียสและมีชีวิตช่วยเสริมแรงให้กับซีฟทิวบ์ และเชื่อว่ามีอิทธิพลต่อการลำเลียงอาหารของซีฟทิวบ์ด้วย
( 3 ) โฟลเอ็มพาเรงคิมา (phloem parenchyma) เป็นเซลล์พาเรงคิมาที่แทรกอยู่ในท่ออาหารทำหน้าที่สะสมอาหารไปเลี้ยงเซลล์ที่อยู่ด้านข้าง
( 4 ) โฟลเอ็มไฟเบอร์ (phloem fiber) เป็นเซลล์ไฟเบอร์ที่แทรกอยู่ในท่ออาหาร ช่วยให้ความแข็งแรงแก่พืช เช่นเดียวกับไซเลมไฟเบอร์

เนื้อเยื่อเจริญ (meristermatic tissue)


เนื้อเยื่อของพืชแบ่งตามลักษณะของเซลล์ว่ามีการแบ่งตัวหรือไม่ แบ่งได้เป็น  2 ประเภท คือ
1.เนื้อเยื่อเจริญ (meristermatic tissue หรือ meristem) ประกอบด้วยเซลล์ที่กำลังแบ่งตัวแบบไมโอซิส (mitotic cell division ) อยู่ตลอดเวลา มีลักษณะดังนี้
  • 1. เป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิตและมีโพรโทพลาซึมข้นมาก
  • 2. มีนิวเคลียสขนาดใหญ่และเห็นได้ชัดเจน
  • 3. เป็นเซลล์ที่มีผนังเซลล์บางและประกอบด้วยเซลลูโลสเป็นส่วนใหญ่
  • 4. มีแวคิวโอลขนาดเล็กหรือไม่มีเลย
  • 5. มักมีรูปร่างค่อนข้างกลมหรือหลายเหลี่ยมและอยู่ชิดกันมากจนไม่มีช่องว่างระหว่างเวลล์ให้เห็น
  • 6. แบ่งเซลล์ได้และมีรูปร่างแบบเดิมจนกว่าจะเปลี่ยนแปลง ( differentiation ) ไปทำหน้าที่เฉพาะอย่าง
เนื้อเยื่อเจริญจำแนกตามตำแหน่งที่อยู่บนส่วนต่างๆของพืช แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ
1.เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย (apical meristem) หรือเรียกอีกอย่างว่าเนื้อเยื่อเจริญปลายยอดปลายราก พบที่บริเวณส่วนปลายของยอด ราก ปลายกิ่งและที่ตา (bud) เมื่อแบ่งเซลล์ทำให้รากหรือยอดยาวออกไปมากขึ้น
2.เนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อ (intercalary meristem) หรือเนื้อเยื่อเจริญบริเวณข้อ (เมื่อยังอ่อนอยู่) เมื่อแบ่งเซลล์ทำให้ปล้องยืดยาวออกทำให้ลำต้นสูงขึ้นมาก มักพบมากในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น ไผ่ อ้อย ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง และพวกหญ้าชนิดต่างๆ
3.เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง (lateral meristem) เป็นเนื้อเยื่อเจริญที่แบ่งตัวออกทางด้านข้างพบในราก และลำต้นของพืชใบเลี้ยงคู่ ทำให้รากและลำต้นขยายใหญ่ขึ้น เนื้อเยื่อเจริญชนิดนี้เรียกอีกอย่างว่า แคมเบียม (cambium) ถ้าพบที่กลุ่มท่อลำเลียงจะเรียกว่า วาสคิวลาร์แคมเบียม (vascular cambium) ถ้าอยู่ถัดจากชั้นเยื่อบุผิวของลำต้น และรากเข้าไปเรียกว่า คอร์ก แคมเบียม (cork cambium) เนื้อเยื่อเจริญด้านข้างนอกจากพบในพืชใบเลี้ยงคู่แล้วยังพบใบพวกจิมโนสเปิร์มด้วย คือ ปรง สนฉัตร สนสองใบ สนสามใบ และยังอาจพบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด เช่น หมากผู้ หมากเมีย จันทน์ผา เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การเกิดฝาแฝด (Twins)

บล็อคนี้นำเสนอเรื่องราวของฝาแฝดนะคะ น้องๆ หลายๆคนอยากทราบว่า เอ๊ะ ฝาแฝดเกิดขึ้นมาได้อย่างไร แล้ว คนที่เป็นแฝดกัน เป็นแฝด ชนิดไหน ทราบได้จากบล๊อคนี้เลยคะ 

ฝาแฝด (twins) มี 2 ชนิด คือ
1. ฝาแฝดแท้ (identical twins) หรือฝาแฝดร่วมไข่ เป็นฝาแฝดที่มีลักษณะเหมือนกันทุกประการเป็นเพศเดียวกัน ลักษณะนิสัยใจคอและสติปัญญาจะคล้ายกัน ฝาแฝดแบบนี้เกิดจากการผสมของไข่ใบเดียวและอสุจิตัวเดียว แต่เกิดผิดปกติตอนแบ่งเซลล์ครั้งแรกๆ บางครั้งฝาแฝดแบบนี้จะมีบางส่วนติดกันอยู่ เนื่องจากแบ่งได้ไม่สมบูรณ์ เช่น แฝดอิน จัน
2. ฝาแฝดเทียม (fraternal twins) หรือฝาแฝดต่างไข่ เป็นฝาดแฝดที่มีลักษณะเหมือนกันหรือต่างกันก็ได้เป็นเพศเดียวกันหรือต่างกันก็ได้ ฝาแฝดแบบนี้เกิดจากไข่ 2 เซลล์และอสุจิ 2 ตัว หรือมากกว่านี้ การที่เกิดฝาแฝดก็เนื่องจากมีการตกไข่คราวเดียวกันมากกว่า 1 เซลล์ และได้รับการผสมและฝังตัวได้ทั้งคู่จึงเจริญเป็นทารก 2 คน

การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (Sexual reproduction)


การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศต้องมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียเข้าผสมกันผลที่ได้ก็คือไซโกต (Zygote) การผสมพันธุ์กันของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียเราเรียกว่าการปฏิสนธิ (fertilization) สิ่งมีชีวิตบางชนิดจะมีทั้งสองเพศในตัวเดียวกันเราเรียกว่าเป็นกระเทย (hermaphrodite) เช่น ไฮดรา พยาธิตัวแบน พลานาเรีย ไส้เดือนดิน บางชนิดจะมีเพศแยกกันในแต่ละตัว เช่น พยาธิตัวกลม อาร์โทรพอต สัวต์มีกระดูกสันหลัง พวกที่มีเพศแยกกันมักจะมีความแตกต่างกันของลักษณะในเพศผู้และเพศเมีย โดยที่เมื่อเราเห็นแล้วเราจะสมามารถบอกได้ว่า ตัวไหนเป็นตัวผู้ตัวไหนเป็นตัวเมีย เช่น ไก่ตัวผู้กับไก่ตัวเมีย กวางตัวผู้กับกวางตัวเมีย เป็นต้น สำหรับในพืชชั้นสูงมักจะมีทั้งสองเพศในตัวเดียวกันเสมอ
  1. การสืบพันธุ์แบบใช้เพศของไฮดรา ไฮดราเป็นสัตว์ที่มีเพศทั้งสองเพศในตัวเดียวกัน โดยอันฑะจะสร้างขึ้นที่ผิวของเอพิเดอร์มิสด้านบนของลำตัวไฮดรามีลักษณะเป็นก้อนนูนรูปโดมปลายเป็นปุ่มคล้ายหัวนมและมีการสร้างอสุจิโดยการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสและลดจำนวนโครโมโซมลง อสุจิที่พัฒนาแล้วจะว่ายออกจากรอยแตกของผนังอันฑะ ส่วนรังไข่จะเจริญพัฒนาทางด้านล่างของลำตัวโดยมีการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสและได้เซลล์ไข่เพียงเซลล์เดียวไข่เมื่อเจริญพัฒนาจะทำให้บริเวณนั้นโป่งออก จะเคลื่อนมาอยู่ที่ผิวของรังไข่ ไข่และอสุจิของไฮดราในแต่ละตัวไม่เจริญพร้อมกันจะไม่มีการปฏิสนธิภายในตัวเดียวกันแต่จะเกิดการปฏิสนธิข้ามตัว (cross fertilization) โดยอสุจิออกจากอันฑะแล้วว่ายน้ำเข้าผสมกับไข่โดยไซโกต (zygote) ซึ่งจะแบ่งเซลล์และพัฒนาตัวอ่อนเป็นตัวไฮดราต่อไป ทั้งอันฑะและรังไข่ของไฮดราจะเป็นอวัยวะที่สร้างขึ้นชั่วคราวระหว่างการสืบพันธุ์แบบใช้เพศเท่านั้น และการปฏิสนธิจะเป็นการปฏิสนธินอกตัว (external fertilization
  2. การสืบพันธุ์แบบใช้เพศของไส้เดือนดิน  ไส้เดือนดินมัก ผสมพันธุ์กันในเวลากลางคืนไส้เดือนเป็นกระเทยคือมีทั้งสองเพศในตัวเดียวกัน แต่จะไม่มีการผสมพันธุ์ภายในตัวเดียวกันจะผสมพันธุ์ข้ามตัวเท่านั้น การผสมพันธุ์โดยไส้เดือนดิน 2 ตัวมาจับคู่กัน โดยใช้ด้านทองแนบกันสลับหัวสลับหางโดยช่องเพศตัวผู้ตัวหนึ่งจะแนบถุงรับอสุจิของอีกตัวหนึ่ง แล้วมีการแลกเปลี่ยนอสุจิกัน การจับคู่ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง เมื่อไส้เดือนแยกออกจากกันประมาณ 2 – 3 วัน จะเกิดเหตุการณ์คือปล้องที่เรียกว่า ไคเทลลัม (clitellum) จะสร้างเมือกและมีการสร้างถุงหุ้มไข่หรือโคคูน (cocoon) ไข่ที่สุกแล้วจะถูกปล่อยเข้าสู่โคคูน เมื่อไส้เดือนตัวนี้เคลื่อนที่ถอยหลัง โคคูนจึงเคลื่อนที่ไปข้างหน้าและเมื่อถึงถุงกับอสุจิที่อยู่ข้างหน้าก็จะรับอสุจิมาแล้วเกิดการปฏิสนธิภายในโคคูนซึ่งถือว่าเป็นการปฏิสนธินอกตัว  เมื่อโคคูนหลุดออกจากตัวไส้เดือนดิน ก็จะเกิดการหดตัวเป็นถุงรูปไข่สีเหลือ ซึ่งภายในมีตัวอ่อนของไส้เดือนพัฒนาอยู่ และใช้เวลาในการพัฒนาประมาณ 8 – 10 สัปดาห์จึงฟักออกเป็นตัว

วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (Asexual reproduction)


การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว พืช และสัตว์บางชนิดมีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศดังนี้ 
(1) การแบ่งออกเป็นสองส่วน (binary fission) การแบ่งออกเป็นสองส่วนนี้ ส่วนที่แบ่งได้มักจะมีขนาดเท่ากัน พบได้ในสิ่งมีชีวิตจำพวกโพรทีสต์เซลล์เดียว การแบ่งนี้แบบนี้ยังแบ่งออกเป็นหลายวิธี คือ
  1. การแบ่งแบบไม่มีทิศทางแน่นอน (nondirectional binary fission) เช่น การแบ่งเซลล์ของอะมีบา จะไม่สามารถบอกทิศทางอย่างไร
  2. การแบ่งตามขวางของลำตัว (tranverse binary fission) เช่น การแบ่งเซลล์ของพารามีเชียมโดยนิวเคลียสจะยืดยาวขึ้นตามความยาวของลำตัวแล้วเกิดการคอดเข้าที่ส่วนกลางและขาออกจากกันเป็นพารามีเซียม 2 ตัว
  3. การแบ่งเซลล์ตามความยาวของลำตัว (longitudinal binary fission) เช่น การบ่งเซลล์ของยูกลีนา โดยเกิดการแบ่งที่ร้องปากเฟลเจลลัมก่อนแล้วค่อยๆ แบ่งตามความยาวของลำตัวลงมาแล้วมีการแบ่งนิวเคลียสในขณะที่ตัวติดกันอยู่ทำให้มองดูเหมือนยูกลีนา 1 ตัว มี 2 หัว ในที่สุดก็จะขาดออกจากกันเป็นยูกลีนาที่สมบูรณ์ 2 ตัวต่อไป

(2) การแตกหน่อ (budding) การแตกหน่อเป็นการสืบพันธุ์ที่พบได้ในสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เช่น ยีสต์ ไฮดรา และพืชชั้นสูง การแตกหน่อของไฮดราจะเริ่มขึ้นทางด้านข้างตัวไฮดราโดยที่เซลล์บริเวณที่จะแตกเป็นหน่อ (bud) จะมีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซีสและเพิ่มจำนวนเซลล์ขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุดบริเวณนั้นจะเป็นตุ่มและหน่อเหล่านี้จะหลุดออกจากตัวแม่หรือติดกับตัวแม่ก็ได้ ถ้าหากหน่อนี้ติดอยู่กับตัวแม่ก็ทำให้มองดูเป็นกลุ่มหรือกระจุกของไฮดราขึ้น ในฟองน้ำจะมีการสร้างเจมมูล (gemmule) โดยภายในเจมมูลจะมีเซลล์จำนวนมากและอยู่ภายในตัวของฟองน้ำ เมื่อฟองน้ำตายเจมมูลนี้ก็จะหลุดออกเป็นอิสระ เมื่อพบสภาพเหมาะสมก็เจริญเป็นฟองน้ำได้ใหม่อีก ในพืชไบรโอไฟต์พวกลิเวอร์เวิร์ทก็มีการสร้างเจมมา (gemma) ซึ่งมีลักษณะการสร้างคล้ายคลึงกับเจมมูลของฟองน้ำ

(3) การงอกใหม่ (regeneration) พบได้ในสิ่งมีชีวิตหลายชนิดในสัตว์ชั้นสูงมัก จะไม่มีการงอกใหม่ การงอกใหม่อาจจะเป็นการสืบพันธุ์หรือไม่สืบพันธุ์ก็ได้ เช่น ในกรณีที่หางจิ้งจกขาดออกแล้วต่อมาหางจิ้งจกจะงอกขึ้นมาแทนส่วนที่ขาดหายไป อย่างนี้ไม่จัดเป็นการสืบพันธุ์ แต่ในกรณีของดาวทะเล เมื่อนำมาตัดออกเป็นสองส่วนให้ผ่านลำตัวที่อยู่ตรงกลาง (disc) จะพบว่าดาวทะเลสามารถที่จะงอกส่วนที่ขาดหายไปไดโดยส่วนที่มี 3 แขน (arm) จะงอกอีก 2 แขนออกมาและส่วนที่มี 2 แขนจะงอกอีก 3 แขน ออกมาจนเป็นดาวทะเลที่สมบูรณ์ทั้งสิงตัว อย่างนี้จัดเป็นการสืบพันธุ์ได้ สิ่งมีชีวิตที่มีการงอกใหม่ คือ ไฮดรา ดอกไม้ทะเล พลานาเรีย ดาวทะเล เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การสืบพันธุ์ (Reproduction)


การสืบพันธุ์ (reproduction) การสืบพันธุ์ หมายถึง การเพิ่มจำนวนลูกหลานที่ลักษณะเหมือนเดิมของสิ่งมีชีวิต โดยที่สิ่งมีชีวิตรุ่นใหม่ที่เกิดขึ้นนี้จะทดแทนสิ่งมีชีวิตรุ่นเก่าที่ล้มหายตายจากไปทำให้สิ่งมีชีวิตเหลือรอดอยู่ในโลกได้ โดยไม่สูญพันธุ์ไป การสืบพันธุ์มี 2 วิธี คือ
1.การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (asexual reproduction) เป็นการเพิ่มจำนวนลูกหลายโดยไม่ต้องอาศัยเพศเข้ามาเกี่ยวข้องละไม่มีการผสมกันของเซลล์สืบพันธุ์ เช่น การแบ่งเซลล์ของแบคทีเรีย การแตกหน่อของไฮดรา
2.การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (sexual reproduction) เป็นการสืบพันธุ์ที่ต้องอาศัยเพศโดยที่มีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียแล้วผสมกันเกิดเป็นสิ่งมีชีวิตหน่วยใหม่ซึ่งลักษณะเหมือนพ่อและแม่
แนวความคิดต่างๆ เกี่ยวกับการเกิดของสิ่งมีชีวิต แนวความคิดเกี่ยวกับการกำเนิดของสิ่งมีชีวิต อธิบายได้ด้วยทฤษฏีต่างๆ ดังนี้
1. ทฤษฏีการสร้างขึ้นอย่างพิเศษ (special creation theory) เป็นทฤษฏีที่กล่าวว่า สิ่งมีชีวิตในโลกนี้ถูกสร้างขึ้นด้วยอำนาจต่างๆ อันพิเศษเหนือกว่าธรรมชาติ เช่น พระเจ้าเป็นผู้สร้างโลกและสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลก
2. ทฤษฏีสิ่งมีชีวิตมาจากโลกอื่น (cosmozoic theory) เป็นทฤษฏีที่กล่าวว่าสิ่งมีชีวิตมาจากดวงดาวหรือโลกอื่นซึ่งอยู่ภายนอกโลกของเราออกไป
3.ทฤษฏีสิ่งมีชีวิตเกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต (spontaneous generation theory หรือ abiogenesis theory) เช่นการเกิดการเปลี่ยนแปลงของเพรียงคอห่านไปเป็นบาร์ราเคิล โบเทียล (Boethius) ได้เขียนไว้ว่าถ้าขว้างไม้ลงไปในทะเลในไม่ช้าก็จะกลายเป็นหนอนเกิดหัว เกิดเท้า เกิดปีกและขนเมื่อมันโตขึ้นก็จะกลายเป็นห่านขนาดใหญ่ได้
แวน เฮลมอนด์ (Van Helmont) กล่าวว่าถ้าเอาเมล็ดข้าวสาลี เสื้อผ้าเก่า สกปรกใส่ลงในหม้อแล้วทิ้งไว้ที่มืดๆ 21 วัน จะเกิดเป็นหนูขึ้นจากปฏิกิริยาของเมล็ดข้าวสาลีและเสื้อผ้าสกปรกนั้น หรือปลาบางชนิดและกบเกิดขากโคลนและทรายหรือซากพืชซากสัตว์ในบ่อน้ำ เมื่อบ่อน้ำแห้งจะไม่พบว่ามีสิ่งมีชีวิตใดเลย แต่เมื่อฝนตกและมีน้ำเต็มบ่อ ต่อมาจะพบว่ามีลูกอ๊อด ลูกปลาและในที่สุดจะพบกบและปลาขึ้น จึงเชื่อว่าปลาและกบเกิดจากโคลนตมในบ่อน้ำ
4. ทฤษฏีสิ่งมีชีวิตเกิดจากสิ่งมีชีวิต (biogenesis theory) เป็นทฤษฏีที่กล่าวว่าสิ่งมีชีวิตจะเกิดมาจากสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันเท่านั้น เพราะพบว่าสิ่งมีชีวิตทั่วไปจะมีพ่อและแม่ลูกที่เกิดมาจะมีลักษณะเหมือนกับพ่อแม่ของมันเสมอ
5. สิ่งมีชีวิตเกิดจากสิ่งมีชีวิต (biogenesis) ซึ่งหมายถึงสิ่งมีชีวิตทุกชนิดเกิดจากพ่อแม่ที่เป็นสิ่งมีชีวิตเดียวกัน เช่น แมวต้องเกิดเป็นแมว สุนัขต้องเกิดเป็นสุนัข และคนต้องเกิดจากพ่อแม่ที่เป็นคน เป็นต้น
สิ่งมีชีวิตสร้างเซลล์ใหม่ได้อย่างไร
การแบ่งเซลล์เป็นการเพิ่มจำนวนเซลล์ ผลของการแบ่งเซลล์ทำให้เซลล์มีขนาดเล็กลง แต่มีจำนวนเซลล์เพิ่มขึ้นทำให้สิ่งมีชีวิตนั้นเจริญเติบโต เซลล์โพรคาริโอล เช่น เซลล์แบคทีเรียมีการแบ่งเซลล์แบบไบนารีฟิชชัน (binary fission) คือการแบ่งแยกตัวจาก 1 เป็น 2 เซลล์พวกยูคาริโอล การแบ่งเซลล์ ประด้วย 2 ขั้นตอน คือ การแบ่งนิวเคลียส (karyokinesis) และการแบ่งพวกไซโทพลาซึม (cytokinesis) การแบ่งนิวเคลียสและดารแบ่งไซโทพลาซึม ยังแบ่งออกเป็นลักษณะต่างๆ ได้อีก คือการแบ่งนิวเคลียส แบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ
1.การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโทซีส (mitosis) ทำให้เรียกการแบ่งเซลล์แบบนี้ว่าการแบ่งเซลล์แบบไมโทซีส
2.การแบ่งเซลล์แบบไมโอซีส (meiosis) ทำให้เรียกการแบ่งเซลล์แบบนี้ว่าการแบ่งเซลล์แบบไมโอซีส