เมื่อตัดลำต้นของพืชใบเลี้ยงคู่ที่ยังอ่อนอยู่ตามขวาง แล้วนำมาศึกษาจะพบลักษณะการเรียงตัวของลำต้นและรากคล้ายกันและลำต้นมีการเรียงตัว ดังนี้
1. เอพิเดอร์มิส (epidermis) อยู่ชั้นนอกสุด
ปกติเป็นเซลล์เรียงตัวชั้นเดียว ไม่มีคลอโรฟีลล์อาจเปลี่ยนแปลงไปเป็นขนหนามหรือเซลล์คุม
(guard cell)
ผิวด้านนอกของเอพิเดอร์มิสมักมีสารพวกคิวทินเคลือบอยู่เพื่อป้องกันการระเหยของน้ำ
3.สตีล (stele) ในลำต้นชั้นของสตีลจะแคบมากและแบ่งแยกออกจากชั้นคอร์เทกซ์ได้ไม่ชัดเจนนัก
และแตกต่างจากในราก สตีลประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
- 3.1 วาสคิวลาร์บันเดิล (vascular bundle) หรือมัดท่อลำเลียง (ท่อน้ำ ท่ออาหาร) โดยมีไซเลมอยู่ด้านในและโฟลเอ็มอยู่ด้านนอกและมีแคมเบียมแทรกอยู่ตรงกลาง การจัดเรียงตัวในแนวรัศมีเดียวกันและมักเรียงในลักษณะเป็นวง
- 3.2 พิธ (pith) เป็นเนื้อเยื่อส่วนในสุดของลำต้นประกอบด้วยเซลล์พวกพาเรงคิมาเป็นส่วนใหญ่ทำหน้าที่สะสมอาหารพวกแป้ง และสารต่างๆ เช่น ผลึกแทนนิน (tannin) พิธที่แทรกอยู่ในมัดท่อลำเลียงจะดูคล้ายรัศมี เรียกว่า พิธเรย์ ( pith ray ) ทำหน้าที่สะสมอาหาร ช่วยลำเลียงน้ำ เกลือแร่ และอาหารไปทางด้านข้างของลำต้น
(2) ลำต้นของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
ลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวส่วนใหญ่มีการเจริญเติบโตขั้นต้น (primary growth ) เท่านั้น มีชั้นต่างๆเช่นเดียวกับพืชใบเลี้ยงคู่ต่างกันที่มัดท่อลำเลียงรวมกันเป็นกลุ่มๆ ประกอบด้วยเซลล์ค่อนข้างกลมขนาดใหญ่ 2 เซลล์ ซึ่งได้แก่ไซเลมและเซลล์เล็กๆ ด้านบนคือโฟลเอ็ม ส่วนทางด้านล่างของไซเลมเป็นช่องกลมๆ เช่นกันคือช่องอากาศมัดท่อลำเลียงของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะมีบันเดิลชีท ( bundle sheath ) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อพวกพาเรงคิมาที่มีแป้งสะสม หรืออาจเป็นเนื้อเยื่อสเกลอเรงคิมามาหุ้มล้อมรอบเอาไว้ กลุ่มของมัดท่อลำเลียงจะกระจายทุกส่วนของลำต้น แต่มักจะอยู่รอบนอกมากกว่ารอบในและมัดท่อลำเลียงไม่มีเนื้อเยื่อเจริญด้านข้างหรือแคมเบียมบริเวณข้อทำให้ปล้องยืดยาวขึ้น ในพืชบางชนิดส่วนของพืชจะสลายกลายเป็นช่องกลวงอยู่กลางลำต้นเรียกว่า ช่องพิธ ( pith cavity ) เช่น ในลำต้นของไผ่ หญ้า เป็นต้น
ในพืชพวกหมากผู้หมากเมีย และจันทน์ผา จะมีมัดท่อลำเลียงคล้ายพืชใบเลี้ยงคู่และมีแคมเบียมด้วยทำให้เจริญเติบโตทางด้านข้างได้และยังสามารถสร้างคอร์กขึ้นได้เมื่อมีอายุมากขึ้น
aSzfdxgfchgvhbjnkm
ตอบลบ