วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การสื่อสารระหว่างสัตว์-การสื่อสารด้วยเสียง


การสื่อสารด้วยเสียง (sound  communication) การสื่อสารด้วยเสียงเป็นการสื่อสารที่คุ้นเคยมาก  พบในสัตว์ชั้นสูงทั่ว ๆ  ไป  และยังพบในแมลงด้วย โดยเสียงจะมีความแตกต่างออกไปโดยมีจุดมุ่งหมายคล้ายกันดังนี้คือใช้บอกชนิดของสัตว์ ใช้บอกเพศว่าเป็นตัวผู้หรือตัวเมียบอกตำแหน่งของตนเองให้ทราบว่าอยู่ที่จุดใดเป็นการประกาศเขตแดนให้สัตว์ตัวอื่น ๆ รู้บอกสัญญาณเตือนภัยหรือข่มขู่ บอกความรู้สึกต่าง ๆ  และการเกี้ยวพาราสี
เสียงมีความหมายที่แตกต่างกันออกไป คือ
1.เสียงเรียกติดต่อ (contact  calls)   เป็นสัญญาณในการรวมกลุ่มของสัตว์ชนิดเดียวกัน  เช่น  แกะ  สิงโตทะเล
2.เสียงเรียกเตือนภัย (warning  calls)   โดยเมื่อสัตว์ตัวหนึ่งพบว่าจะมีอันตรายเกิดขึ้น  จะส่งเสียงร้องให้สัตว์ตัวอื่น ๆ  ทราบเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น  เช่น  นก   กระรอก
3.เสียงเรียกคู่  (mating  calls)  เช่น  การร้องเรียกคู่ของกบตัวผู้  เพื่อเรียกตัวเมีย  ให้เข้ามาผสมพันธุ์  การสีปีกของจิ้งหรีดตัวผู้  เพื่อเรียกร้องความสนใจจากตัวเมีย  การขยับปีกของยุงตัวเมีย  เพื่อดึงดูดความสนใจของยุงตัวผู้ให้เข้ามาผสมพันธุ์  ส่วนในคนเรานั้น  มีภาษาที่สลับซับซ้อนและยุ่งยากกว่าสัตว์อื่น ๆ  มาก
4.เสียงกำหนดสถานที่ของวัตถุ  (echolocation)  เช่น  ในโลมา  (dolphin)   และค้างคาว  (bat)  จะใช้เสียงในการนำทางและหาอาหารโดยการปล่อยเสียงที่มีความถี่สูงออกไปแล้วรับเสียงสะท้อนที่เกิดตามมา และมันจะรู้ได้ว่าตำแหน่งของวัตถุที่อยู่ข้างหน้าอยู่ที่ตำแหน่งใด




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น