วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

พฤติกรรม (behavior) -การศึกษาพฤติกรรมของสัตว์


พฤติกรรม (behavior)  พฤติกรรมเป็นปฏิกิริยาที่สิ่งมีชีวิตตอบโต้ต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกตัวของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ  พฤติกรรมเป็นผลมาจากการาทำงานร่วมกันระหว่างปัจจัยทางพันธุกรรมและสภาพแวดล้อม พันธุกรรมจะเป็นผู้กำหนดระดับและขอบเขตของการเจริญของส่วนต่าง ๆ  ที่มีความจำเป็นต่อพฤติกรรม เช่น ระบบประสาท  ระบบกล้ามเนื้อ  ฮอร์โมน  ดังนั้นสิ่งมีชีวิตที่มีระบบประสาทที่เจริญ  และซับซ้อนมาก  ก็ย่อมมีพฤติกรรมที่สลับซับซ้อนไปด้วย  ส่วนสภาพแวดล้อมหรือประสบการณ์จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมไปมากบ้างน้อยบ้าง  ซึ่งก็แล้วแต่สภาพของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดในธรรมชาติเป็นแบบแผนของการปรับตัวเพื่อให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่  จึงเรียกการปรับตัวนี้ว่า  การปรับตัวทางด้านพฤติกรรม  (behavior  adaptation)  ซึ่งจะควบคู่ไปกับการปรับตัวทางด้านอื่น ๆ  ด้วย ผลของการปรับตัวทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงชีวิตอยู่ในแหล่งที่อยู่ได้ดียิ่งขึ้น


การศึกษาพฤติกรรม
         นักวิทยาศาสตร์กลุ่มแรกที่ได้ศึกษาพฤติกรรมของสัตว์ ได้แก่  เพอร์นัว  (F.A.V.  Pernau)  ปี พ.ศ.  2550  (ค.ศ. 1716)  โดยรายงานว่า  สัตว์มีพฤติกรรมทั้งที่เป็นสัญชาตญาณ และการเรียนรู้ ชาล์ส  ดาร์วิน  (Charles  Darwin)  ปี พ.ศ.  2415  (ค.ศ. 1872)  ได้ศึกษาพฤติกรรมของสัตว์และคนโดยการเปรียบเทียบทางด้านวิวัฒนาการต่อมา  สพัลดิง  (D.A. Spalding)   ปี พ.ศ.  2416(ค.ศ. 1873)  ได้ศึกษาพฤติกรรมที่เกิดขึ้นมาแต่กำเนิดในนกนางแอ่น
         ในช่วงปี พ.ศ. 2473 – 2493 (ค.ศ. 1930 – 1950)  นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาพฤติกรรมอย่างมีระบบมากขึ้น โดย คาร์ล  ฟอน  ฟริสซ์ (Karl  Von  Frisch)  ได้ศึกษาการสื่อสารและหาอาหารของผึ้ง คอนราคลอเรนซ์ (Konrad  Lorenz)  ได้ศึกษาพฤติกรรมการฝังใจของห่านแคนาดาและนิโก  ทินเบอร์เกน  (Kiko  Tinbergen)  ได้ศึกษาพฤติกรรมขจองปลาสสติกเกิลแบค  (stickleback  fish)   และนกนางนวลหลายชนิด ผลงานของนักวิทยาศาสตร์ทั้ง  3  ท่านนี้  ก่อให้เกิดวิทยาศาสตร์สาขาใหม่คือ  สาขาพฤติกรรมศาสตร์  (ethology)  และในปี พ.ศ.  2516  (ค.ศ. 1973)  นักวิทยาศาสตร์ทั้ง  3  ท่านนี้ก็ได้รับรางวัลโนเบลร่วมกัน  ในสาขาสรีรวิทยาและการแพทย์  ทำให้การศึกษาพฤติกรรมสัตว์เจริญรุดหน้าไปมาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอธิบายการเกิดพฤติกรรมโดยอาศัยกลไกทางสรีรวิทยาของสัตว์นั้น ๆ  ในปัจจุบันการศึกษาพฤติกรรมสัตว์ หรือพฤติกรรมศาสตร์ จะอาศัยความสัมพันธ์กับวิทยาศาสตร์  2  สาขา  คือ
         1.   การศึกษาทางสรีรวิทยา  (physiological  approach)    โดยอธิบายพฤติกรรมในรูปแบบของกลไกทางสรีรวิทยาของระบบต่าง ๆ  ในร่างกาย  เช่น  ระบบประสาท  ระบบต่อมไร้ท่อ  ระบบกล้ามเนื้อ    2.  การศึกษาทางจิตวิทยา  (psychological  approach)   โดยการศึกษาถึงผลของปัจจัยต่าง ๆ  รอบตัว  ทั้งภายในและภายนอกร่างกายสัตว์  ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาและแสดงออกของพฤติกรรมที่สามารถมองเห็นได้

         นักพฤติกรรมศาสตร์  (ethologist)  คือ  บุคคลที่ศึกษาทางด้านพฤติกรรม  เพื่อหาสาเหตุของการเกิดพฤติกรรมการพัฒนาของพฤติกรรมรวมไปถึงการวิวัฒนาการของพฤติกรรมว่ามีความเป็นมาอย่างไร  พันธุกรรมเกี่ยวข้องอย่างไร ติดตามต่อได้บล๊อคหน้านะคะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น