พฤติกรรมในสิ่งมีชีวิตแบ่งออกเป็น 2
ประเภท คือ
1.พฤติกรรมที่เป็นมาแต่กำเนิด (inherited
behavior หรือ innate
behavior)พฤติกรรมแบบนี้เป็นพฤติกรรมที่ถูกควบคุมโดยหน่วยทางพันธุกรรมทั้งหมด
โดยไม่ต้องผ่านการเรียนรู้เป็นลักษณะเฉพาะของสิ่งมีชีวิตที่จะต้องสนองต่อสิ่งเร้าและมีแบบแผนที่แน่นอน ไม่เปลี่ยนแปลงซึ่งเรียกว่า
ฟีกแอกชันแพทเทอร์น (fix action pattern,
FAP) แบ่งออกเป็น
1.พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิดในพืช พฤติกรรมในพืชเป็นพฤติกรรมที่เป็นมาแต่กำเนิดทั้งสิ้น เนื่องจากพืชไม่มีระบบประสาท จึงไม่มีการเรียนรู้เหมือนสัตว์1.2 พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิดในสัตว์ และโพรทิสต์ แบ่งออกเป็น
1.1 ไคนีซีส (kinesis)
1.2 แทกซีส
(taxis)
1.3 รีเฟลกซ์
(reflex)
1.4 รีเฟลกซ์ต่อเนื่อง (chain of
reflex)
ซึ่งเดิมทีเดียวเรียกว่า สัญชาตญาณ (instinct หรือ innate
behavior)
2.พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ (learned behavior) เป็นพฤติกรรมที่ต้องอาศัยทั้งพันธุกรรมและประสบการณ์มาประกอบกัน พันธุกรรมเป็นผู้กำหนดความเจริญของระบบประสาท หน่วยรับความรู้สึกหน่วยตอบสนองสัตว์ชนิดใดที่มีระบบประสาทและหน่วยเหล่านี้เจริญดีก็จะมีพฤติกรรมที่ซับซ้อน และประสบการณ์จะเป็นตัวช่วยในการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่แสดงออก ดังนั้นสิ่งมีชีวิตที่มีระบบประสาทเจริญดีมาก และมีประสบการณ์สูง จะมีพฤติกรรมซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ดีกว่าสิ่งมีชีวิตที่ระบบประสาทเจริญน้อยและประสบการณ์ต่ำ พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้แบ่งออกเป็น
2.1การฝังใจ(imprinting)
2.2ความเคยชิน(habituation)
2.3การมีเงื่อนไข(conditioning หรือ condition reflex)
2.4 การลองผิดลองถ(trial and error learning) 2.5การใช้เหตุผล(reasoning หรือ insight learning)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น