วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เนื้อเยื่อเจริญ (meristermatic tissue)


เนื้อเยื่อของพืชแบ่งตามลักษณะของเซลล์ว่ามีการแบ่งตัวหรือไม่ แบ่งได้เป็น  2 ประเภท คือ
1.เนื้อเยื่อเจริญ (meristermatic tissue หรือ meristem) ประกอบด้วยเซลล์ที่กำลังแบ่งตัวแบบไมโอซิส (mitotic cell division ) อยู่ตลอดเวลา มีลักษณะดังนี้
  • 1. เป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิตและมีโพรโทพลาซึมข้นมาก
  • 2. มีนิวเคลียสขนาดใหญ่และเห็นได้ชัดเจน
  • 3. เป็นเซลล์ที่มีผนังเซลล์บางและประกอบด้วยเซลลูโลสเป็นส่วนใหญ่
  • 4. มีแวคิวโอลขนาดเล็กหรือไม่มีเลย
  • 5. มักมีรูปร่างค่อนข้างกลมหรือหลายเหลี่ยมและอยู่ชิดกันมากจนไม่มีช่องว่างระหว่างเวลล์ให้เห็น
  • 6. แบ่งเซลล์ได้และมีรูปร่างแบบเดิมจนกว่าจะเปลี่ยนแปลง ( differentiation ) ไปทำหน้าที่เฉพาะอย่าง
เนื้อเยื่อเจริญจำแนกตามตำแหน่งที่อยู่บนส่วนต่างๆของพืช แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ
1.เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย (apical meristem) หรือเรียกอีกอย่างว่าเนื้อเยื่อเจริญปลายยอดปลายราก พบที่บริเวณส่วนปลายของยอด ราก ปลายกิ่งและที่ตา (bud) เมื่อแบ่งเซลล์ทำให้รากหรือยอดยาวออกไปมากขึ้น
2.เนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อ (intercalary meristem) หรือเนื้อเยื่อเจริญบริเวณข้อ (เมื่อยังอ่อนอยู่) เมื่อแบ่งเซลล์ทำให้ปล้องยืดยาวออกทำให้ลำต้นสูงขึ้นมาก มักพบมากในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น ไผ่ อ้อย ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง และพวกหญ้าชนิดต่างๆ
3.เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง (lateral meristem) เป็นเนื้อเยื่อเจริญที่แบ่งตัวออกทางด้านข้างพบในราก และลำต้นของพืชใบเลี้ยงคู่ ทำให้รากและลำต้นขยายใหญ่ขึ้น เนื้อเยื่อเจริญชนิดนี้เรียกอีกอย่างว่า แคมเบียม (cambium) ถ้าพบที่กลุ่มท่อลำเลียงจะเรียกว่า วาสคิวลาร์แคมเบียม (vascular cambium) ถ้าอยู่ถัดจากชั้นเยื่อบุผิวของลำต้น และรากเข้าไปเรียกว่า คอร์ก แคมเบียม (cork cambium) เนื้อเยื่อเจริญด้านข้างนอกจากพบในพืชใบเลี้ยงคู่แล้วยังพบใบพวกจิมโนสเปิร์มด้วย คือ ปรง สนฉัตร สนสองใบ สนสามใบ และยังอาจพบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด เช่น หมากผู้ หมากเมีย จันทน์ผา เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น