วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เนื้อเยื่อถาวร (permanent tissue)


เนื้อเยื่อถาวร (permanent tissue) เป็นเนื้อเยื่อซึ่งเกิดจากเนื้อเยื่อเจริญและได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและส่วนประกอบของเซลล์เพื่อทำหน้าที่ตามแต่ละชนิดของเนื้อเยื่อถาวรแบ่งออกเป็น
1. เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว (simple permanent tissue) เป็นเนื้อเยื่อถาวรซึ่งเป็นเซลล์ชนิดเดียวประกอบด้วย
1.1 เอพิเดอร์มิส (epidermis) เป็นเซลล์ชั้นที่อยู่นอกสุดเป็นเซลล์เพียงชนิดเดียวและปกคลุมอยู่ทุกส่วนของพืช เซงง์มีลักษณะเป็นรูปเหลี่ยมที่ผิวเซลล์มีพวกสารขี้ผึ้งหรือคิวทิน (cutin) ฉาบอยู่เพื่อป้องกันการระเหยของน้ำ
1.2 พาเรงคิมา (parenchyma) เป็นเซลล์ขนาดใหญ่ที่มีผนังเซลล์บางๆ รูปร่างค่อนข้างกลมหรือหลายเหลี่ยมมีแวคิวโอลใหญ่ทำให้เก็บน้ำและอาหารได้มาก พบเซลล์ พวกนี้ได้ตามส่วนอ่อนทั่วไปในต้นพืชพาเรงคิมาบางเซลล์มีเม็ดคลอโรพลาสต์อยู่ด้วยทำให้สังเคราะห์อาหารได้ และบางเซลล์ก็ทำหน้าที่ในการเก็บสะสมอาหารจำพวกแป้งให้แก่พืช เซลล์เมื่อเรียงตัวติดกันทำให้เกิดช่องว่างระหว่างเซลล์ขึ้น
1.3 คอลเลงคิมา (collenchyma) เป็นเซลล์ที่มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับพาราคิมาเซลล์ มีผนังหนาเพราะมีพวกสารเพกทิน (pectin)มาเกาะอยู่ ช่วยให้พืชแข็งแรงและเหนียวขึ้น พบได้ตามส่วนที่ต้องการความเหนียว เช่น ด้านที่ใบ และบริเวณส่วนมุม หรือขอบเหลี่ยมในต้นพืช
1.4 สเกลอเรงคิมา (sclerenchyma) เป็นเซลล์ที่ช่วยให้พืชแข็งแรง เมื่อแก่ตัวจะเป็นเซลล์ที่ตายแล้ว ได้แก่ เซลล์ไฟเบอร์ ( fiber ) ซึ้งเป็นเซลล์เส้นใย ยาวและเหนียวมาก เช่น เส้นใยต่างๆ เซลล์หิน  (stone cell) เป็นเซลล์ป้อมๆ ผนังหนาเพราะมีสารพวกลิกนิน (lignin) มาเกาะอยู่ พบเซลล์พวกนี้ได้ที่กะลามะพร้าว เปลือกหุ้มเมล็ดเซลล์สเกลอรีด (sclereid) คล้ายไฟเบอร์ เซลล์ไม่ยาวยาวมากมัก อยู่ตามส่วนที่แข็งๆของเปลือกต้นไม้เปลือกหุ้มเมล็ดและเนื้อผลไม้ที่สากๆ
1.5 เอนโดเดอร์มิส (endodermis) เป็นเซลล์ที่พบอยู่ด้านนอกของเนื้อเยื่อลำเลียงขอกราก มีรูปคล้ายเซลล์พาราคิมา แต่ผนังเซลล์มีสารลิกนินและซูเบอริน (suberin) มาพอกหนา และเซลล์เรียงตัวกันแน่นมากทำให้ไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์เกิดขึ้นเลย

1.6 คอร์ก (cork) เป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกสุดของลำต้นและรากของพืชใบเลี้ยงคู่ ซึ่งมีการเจริญเติบโตขึ้นที่สอง (secondary growth) ส่วนของผนังเซลล์มีสารซูเบอริน สะสมบนลิกนิน และพอกหนาน้ำผ่านไม่ได้ ช่วยป้องกันการระเหยของน้ำภายในเซล์ซูเบอรินมีสีน้ำตาล ทำให้เปลือกไม้มีสีน้ำตาลไปด้วย
2. เนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน (complex permanent tissue เป็นเนื้อเยื่อถาวรที่ประกอบด้วยเซลล์หลายชนิดมารวมกันเพื่อทำหน้าที่ร่วมกัน ประกอบด้วย
2.1 ท่อน้ำหรือไซเลม (xylem) ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำและเกลือแร่จากรากขึ้น สู่ส่วนของพืชที่อยู่สูงขึ้นไป ท่อน้ำประกอบด้วยเซลล์ 4 ชนิด คือ
( 1 ) เทรคีด (tracheid) เป็นเซลล์ที่มีรูปร่างยาว แหลมหัว แหลมท้าย บริเวณปลายเซลล์จะซ้อนเหลื่อมกัน ผนังเซลล์หนาเพราะมีสารต่างๆ มาเกาะกัรมากตามผนังเซลล์มีรู (pith) ทำให้น้ำไหลติดต่อกัน ระหว่างเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หน่งได้เทรคีดเป็นเซลล์ที่ตายแล้ว ในพวกจิมโนสเปิร์ม(gymnosperm) เช่น พวกสนสองใบ สนสามใบ ท่อน้ำจะมีเฉพาะเทรคีดเท่านั้น
( 2 ) เวสเซล (vessel) เป็นเซลล์ของไซเลมที่มีขนาดใหญ่กว่าเทรคีดเซลล์ เป็นรูปทรงกระบอกต่อกันที่ต่อจะทำลุถึงกัน เวสเซลที่ตายแล้ว ดังนั้นสารพวกโพรโทพลาซึมจึงสลายไปทำให้ลำเลียงน้ำต่อจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งได้ตลอดส่วนของรากและลำต้นเวสเซลมีผนังเซลล์หนาเนื่องจากมีสารพวกลิกนินมาเกาะ ความหนาของเวสเซลไม่เท่ากันจึงทำให้แบ่งเวสเซลออกเป็นหลายแบบ
( 3 ) ไซเลมพาเรงคิมา (xylem parenchyma) เป็นเซลล์พาเรงคิมาที่แทรกอยู่ในไซเลมเป็นเซลล์ที่มีผนังบางและยังมีชีวิตอยู่ในไซเลมพาเรงคิมาที่เรียงตัวตามขวางกับเซลล์อื่นเรียกว่า ไซเลมเรย์ (xylem ray) ช่วยลำเลียงน้ำไปทางด้านข้าง
( 4 ) ไซเลมไฟเบอร์ (xylem fiber) เป็นไฟเบอร์ที่แทรกอยู่ในไซเลมเป็นเซลล์ที่ตายแล้วเซลล์แหลมหัวแหลมท้าย ยาวเป็นเส้นใยช่วยให้ต้นพืชมีความแข็งแรงและทนทานมากขึ้น
2.2 ท่ออาหารหรือโฟลเอ็ม (phloem) ทำหน้าที่ลำเลียงอาหารที่สร้างได้ไปยังส่วนต่างๆ ของพืชท่ออาหารประกอบด้วยเซลล์ 4 ชนิด คือ
( 1 ) ซัฟทิวบ์เมมเบอร์ (sieve tube member) มีลักษณะเป็นท่อตะแกรงขนาดใหญ่และยาว เซลล์เป็นรูปทรงกระบอกต่อกัน ที่รอยต่อบริเวณปลายเซลล์เป็นรูปตะแกรง หรือซีฟเพลต (sieve plate) ทำให้ลำเลียงสารผ่านเซลล์ได้ ซีฟทิวบ์ที่แก่แล้วนิวเคลียสจะสลายไปแต่เซลล์ยังมีชีวิตอยู่ ไซโทพลาซึมของซีฟทิวบ์จะมีการเคลื่อนไหวแบบไซโคลซิส (cyclosis) จึงเชื่อว่ามีความสำคัญต่อการลำเลียงอาหารด้วย
( 2 ) คอมพาเนียนเซลล์ (companion cell) เป็นเซลล์ที่อยู่ข้างเคียงกับซีฟทิวบ์เป็นเซลล์ขนาดเล็กมีนิวเคลียสและมีชีวิตช่วยเสริมแรงให้กับซีฟทิวบ์ และเชื่อว่ามีอิทธิพลต่อการลำเลียงอาหารของซีฟทิวบ์ด้วย
( 3 ) โฟลเอ็มพาเรงคิมา (phloem parenchyma) เป็นเซลล์พาเรงคิมาที่แทรกอยู่ในท่ออาหารทำหน้าที่สะสมอาหารไปเลี้ยงเซลล์ที่อยู่ด้านข้าง
( 4 ) โฟลเอ็มไฟเบอร์ (phloem fiber) เป็นเซลล์ไฟเบอร์ที่แทรกอยู่ในท่ออาหาร ช่วยให้ความแข็งแรงแก่พืช เช่นเดียวกับไซเลมไฟเบอร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น