ชีววิทยาเป็นการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต ชีววิทยามีหลายสาขาได้แก่
1.1 การศึกษาสิ่งมีชีวิตและกลุ่มของสิ่งมีชีวิต
(1) สัตววิทยา
(zoology)
เป็นการศึกษาเรื่องราวต่างๆ ของสัตว์
แบ่งออกเป็นสาขาย่อย ๆ เช่น
1. สัตว์ไม่มีกระดูสันหลัง (invertebrate)
2. สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง (vertebrate)
3. มีนวิทยา (ichthyology) ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับปลาชนิดต่างๆ
4. สังขวิทยา (malacology) ศึกษาเกี่ยวกับหอยชนิดต่างๆ
3. มีนวิทยา (ichthyology) ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับปลาชนิดต่างๆ
4. สังขวิทยา (malacology) ศึกษาเกี่ยวกับหอยชนิดต่างๆ
5. ปักษินวิทยา
(ornithology)
ศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับนก
6. วิทยาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (mammalogy)
7. กีฏวิทยา
(entomology)
ศึกษาเกี่ยวกับแมลง
8. วิทยาเห็บไร
(acarology)
ศึกษาเกี่ยวกับเห็บและไร
(2) พฤกษศาสตร์ (botany) ศึกษาเรื่องราวต่างๆ ของพืช เช่น
1. พืชชั้นต่ำ (lower plant)
2. พืชมีท่อลำเลียง (yascular plant)
3. พืชมีดอก (angiosperm)
3. พืชมีดอก (angiosperm)
(3) จุลชีววิทยา (microbiology) คือการศึกษาเรื่องราวต่างๆ ของจุลินทรีย์ เช่
1. วิทยาแบคทีเรีย (bacteriology) ศึกษาเกี่ยวกับแบคทีเรีย
1. วิทยาแบคทีเรีย (bacteriology) ศึกษาเกี่ยวกับแบคทีเรีย
2. วิทยาไวรัส (virology) ศึกษาเกี่ยวกับไวรัส
3. ราวิทยา (mycology) ศึกษาเกี่ยวกับ รา เห็ด
ยีสต์
4. วิทยาสัตว์เซลล์เดียว (protozoology) ศึกษาเกี่ยวกับพวกไพรโทซัว
1.2
การศึกษาจากโครงสร้างหน้าที่และการทำงานของสิ่งมีชีวิต
(1) กายวิภาคศาสตร์ (anatomy) ศึกษาโครงสร้างต่างๆ โดยการตัดผ่า
(2) สัณฐานวิทยา (morphology)
ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างและรูปร่างของสิ่งมีชีวิต
(3) สรีรวิทยา (physiology) ศึกษาหน้าที่การทำงานของระบบต่างๆ
ในร่างกายของสิ่งมีชีวิต
(4) พันธุศาสตร์ (genetics) ศึกษาลักษณะต่างๆ ทางพันธุกรรมและการถ่ายทอดลักษณะต่างๆ
จากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน
(5) นิเวศวิทยา
(ecology)
ศึกษาความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
(6) มิญชยวิทยาหรือเนื้อเยื่อวิทยา (histology) ศึกษาลักษณะของเนื้อเยื่อทั้งทางด้านโครงสร้างและหน้าที่การทำงาน
(7) วิทยาเอมบริโอ (embryology)
ศึกษาลักษณะการเจริญเติบโตของตัวอ่อน
(8) ปรสิตวิทยา
(parasitology)
ศึกษาเกี่ยวกับการเป็นปรสิตของสิ่งมีชีวิต
(9) วิทยาเซลล์ (cytology) ศึกษาโครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์สิ่งมีชีวิต
1.3 การศึกษาเรื่องราวของสิ่งมีชีวิต
(1) อนุกรมวิธาน (taxonomy) ศึกษาเกี่ยวกับการแบ่งหมวดหมู่ การตั้งชื่อสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ
(2) วิวัฒนาการ (evolution)
ศึกษาเรื่องราวของสิ่งมีชีวิตตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
(3) บรรพชีวินวิทยา (paleontology)
ศึกษาเกี่ยวกับซากโบราณของสิ่งมีชีวิต
ในปัจจุบันการศึกษาทางชีววิทยาได้พัฒนาไปมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ (biotechnology) ซึ่งนำมาประยุกต์ใช้กับสิ่งมีชีวิต เช่น การผลิตสารต่างๆ เช่น ผลิตกรดอะมิโน ผลิตฮอร์โมน อินซูลิน ผลิตเอนไซม์ การเลี้ยงเนื้อเยื่อ การผลิตก๊าซชีวภาพ การโคลนนิ่ง (cloning) การตัดต่อจีน ซึ่งกระทำในพวกจุลินทรีย์ เพื่อประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมและการสาธารณสุข ซึ่งเรียกว่าพันธุวิศวกรรม (genetic engineering) ซึ่งกำลังเจริญพัฒนาอย่างรวดเร็วโดยการศึกษาของนักจุลินชีววิทยา นักเคมี และนักชีวเคมี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น