วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การย่อยอาหารของ โพรทิสต์ และสัตว์

  • ฟังไจ  มักเป็น saprophyte  จึงปล่อยน้ำย่อยออกมาย่อยซากอินทรีย์ที่เกาะ  แล้วดูดซึมอนุภาคสารเข้าเซลล์
  • อะมีบา  จะยื่น  pseudopodium  เพื่อเขมือบ  (phagocytosis)  อาหารเข้าไปย่อยในเซลล์
  • พารามีเซียม  พัดโบก  cilia ที่  oral  groove  (ร่องปาก)  ให้อาหารเข้าสู่เซลล์แล้วกลายเป็น  food  vacuole  แล้วจึงย่อยในเซลล์
  • ยูกลีนา  ปกติเป็น  autotroph  แต่ในภาวะที่ไม่มีแสงก็สามารถเป็น  hetetroph  ได้โดยดูดซึมสารต่างๆเข้าหาตัว
  • ฟองน้ำ  ดักจับอาหารด้วย  collar  cell  (choanocyte)  ที่มี  flagellum  ตวัดอาหารเข้าไปย่อยในเซลล์  และมี  amoebocyte  ช่วยย่อย + แจกจ่ายอาหาร
  • ไฮดรา  มีทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์  เรียก  gastrovascular  cavity  ดักจับเหยื่อด้วยหนวด  (tentacle)  เข็มพิษ  (nematocyst)  อยู่บนเซลล์  cnidocyte  แล้วทำการย่อยนอกเซลล์ด้วยน้ำย่อยจากเซลล์ต่อม  (gland  cell)  จนได้อาหารชิ้นเล็กๆ  เซลล์ย่อยอาหาร  (nutritive cell)  จึงเขมือบเข้าไปย่อยเซลล์ต่ออีกทีหนึ่ง
  • พลานาเรียมีทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์  มีคอหอย (pharynx)  ดักจับอาหาร  ทางเดินอาหารแตกเป็นสองข้าง  เรียก  diverticulum  ส่วนพยาธิตัวตืด  ไม่มีทางเดินอาหาร  แต่ดูดซึมสารอาหารที่ย่อยแล้วของโฮสต์โดยการแพร่  ลำตัวจึงต้องมีปล้องมากและแบนสุดๆ
  • ไส้เดือนดินและแมลงมีกระเพาะพัก  (crop)  ใช้พักอาหาร  และกึ๋น  (gizzard)  ใช้บดอาหาร  เปรียบเสมือนฟันของมนุษย์  ในแมลงนั้นระหว่าง  stomach  กับ  intestine  มี  Malpighian  tubule  เป็นอวัยวะขับถ่ายระหว่าง  gizzard  กับ  stomach  มีต่อมสร้างน้ำย่อย  และยังพบต่อมน้ำลายใกล้ๆปาก  ส่วนในกุ้ง  มีมันกุ้งเป็นอวัยวะสร้างน้ำย่อย
  • สัตว์ชั้นสูงที่กินพืช  (herbivore)  หรือกินทั้งพืชและเนื้อ  (omnivore)  ฟันจะไม่แหลม  ตับสร้างน้ำดีน้อย  ลำไส้ยาว  เพราะพืชมีผนังเซลล์ซึ่งย่อยยาก  และมีจุลินทรีย์อยู่แบบ  mutualismช่วยสร้างน้ำย่อย  พบตามทางเดินอาหารโดยเฉพาะลำไส้ใหญ่ส่วน  caecum  ที่มีขนาดใหญ่  แต่สัตว์กินเนื้อ  (carnivore)  ฟันจะแหลม  เขี้ยวเยอะผลิตน้ำดีได้มากกว่า  ลำไส้สั้นกว่า  และลำไส้ใหญ่ส่วน  caecum  เล็กกว่า


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น