วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

หน้าที่และชนิดของลำต้น


หน้าที่ของลำต้น มี 3 ประการหลัก คือ

  • 1.เป็นแกนช่วยพยุงให้ลำต้นตั้งตรง ( supporting ) ขึ้นได้ทำให้กิ่งด้าน ใบ กางออกรับแสงสว่างได้อย่างทั่วถึงทำให้ใบสังเคราะห์ด้วยแสงได้อย่างดี
  • 2.เป็นทางในการลำเลียง( transportation )น้ำ เกลือแร่ และอาหาร ส่งผ่านจากรากขึ้นสู่ลำต้น กิ่ง ก้าน ใบ ตามลำดับ ในขณะเดียวกันอาหารที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสงของใบก็จะถูกลำเลียงผ่านไปยังก้าน กิ่ง ผล ลำต้น หรือรากเพื่อใช้เก็บสะสมต่อไป
  • 3.หน้าที่พิเศษอื่นๆ เช่นสะสมอาหาร สังเคราะห์ด้วยแสง สืบพันธุ์เป็นหนาม หรือมือเกาะ เป็นต้น
ชนิดของลำต้น
ลำต้นแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
1.ลำต้นเหนือดิน (terrestrial stem หรือ aerial stem) ลำต้นพืชโดยทั่วไปอยู่เหนือดินได้แก่

  • 1.1ต้นไม้ยืนต้นหรือไม้ใหญ่ (tree) เป็นลำต้น จำพวกไม้เนื้อแข็ง ( Woody stem) ขนาดใหญ่มีลำต้นหลักต้นเดียว แล้วจึงแตกกิ่งทางด้านบนขึ้นไป ต้นไม้พวกนี้อายุยืนหลายปี (perennial plant) ได้แก่ ต้นสัก เต็ง รัง มะม่วง มะขาม จามจุรี สน ขนุน ทุเรียน มะขามเทศ เป็นต้น
  • 1.2ต้นไม้พุ่ม (shrub) เป็นต้นไม้ที่มีขนาดไม่ใหญ่นักมักสูงไม่เกิน 5 เมตร ลำต้นมักสั้นและแตกกิ่ง บริเวณโคนต้น มีอายุยืนยาวหลายปี เช่นเดียวกับไม้ใหญ่ เช่น ต้นแก้ว เข็ม กาแฟ ยี่โถ ทับทิม ราตรี เป็นต้น
  • 1.3ต้นไม่ล้มลุก (herb) มักเป็นไม้เนื้ออ่อน หรือไม่มีเนื้อไม้อาจมีอายุ 1 ปี หรือ หนึ่งฤดู (annual plant) เช่น ข้าว หญ้า ถั่วต่างๆ ข้าวโพด บางชนิดอาจอยู่ได้ 2 ฤดู (biennial plant) พืชพวกนี้เมื่อตายแล้วจะแห้งเป็นซากเบาๆ ซึ่งจะผุพังไปแล้วเป็นปุ๋ยในที่สุด
2.ลำต้นใต้ดิน (underground stem หรือ subterranean stem) เป็นลำต้นที่อยู่ใต้ดินจึงทำให้ดูคล้ายราก โดยไม่มีสีเขียว สังเคราะห์ด้วยแสงไม่ได้ มักมีข้อ ปล้อง มีตา และมีการแตกรากให้เห็น ลำต้นใต้ดินส่วนใหญ่มักทำหน้าที่สะสมอาหาร จังมีลักษณะอวบอ้วน เป็นแท่งยาว เป็นหัวหรือเป็นแง่งออกเป็นหลายชนิดได้แก่

  • 2.1ไรโซม (rhizome) เป็นลำต้นใต้ดินที่เรียกกันว่า แง่งหรือเหง้ามักขนานกับผิวดิน มีข้อและปล้องสั้นๆ บริเวณข้อมีใบเกล็ดสีน้ำตาลหุ้มเอาไว้ ตาเหล่านี้อาจงอกและแทงใบขึ้นมาอยู่เหนือดินทำให้มีลักษณะเป็นกอได้ เช่น ขิง ข่า ขมิ้น พุทธรักษา หญ้าคา หญ้าแพรก หญ้าแห้วหมู ส่วนต้นกล้วย ลำต้นจะอยู่ใตเดินมีลักษณะตั้งตรงเป็นแท่งไม่ขนานกับพื้นดินเรียกลำต้นแบบนี้ว่า รูทสต๊อก (root stock) หรือ เหง้า ส่วนที่อยู่เหนือดินเป็นส่วนของก้านใบที่แผ่ออกเป็นกาบ ซ้อนกันหลายชั้นทำให้ดูเหมือนลำต้น และเรามีกเรียกว่าต้นกล้วนนั่นเอง
  • 2.2ทูเบอร์ (tuber) เป็นลำต้นใต้ดินที่อวบอ้วนสั้นๆ ประกอบด้วยปล้อง 3 – 4 ปล้องเท่านั้น ไม่มีใบเกล็ด บริเวณที่เป็นตาจะมีลักษณะบุ๋มลงไปและสามารถแตกเป็นต้นใหม่งอกขึ้นมาเหนือดินได้ ได้แก่ มันฝรั่ง มันมือเสือ มันกลอย เป็นต้น
  • 2.3บัลบ์ (bulb) เป็นลำต้นใต้ดินที่ตั้งตรงและอาจโผล่พื้นดินขึ้นมาบ้าง ลำต้นชนิดนี้ ส่วนล่างมีรากเป็นกระจุกส่วนบนมีข้อปล้องสั้นมากและมีใบเกล็ดซ้อนกันหลายชั้นหุ้มลำต้นไว้โดยใบเกล็ดทำหน้าที่สะสมอหารใบเกล็ดด้านนอกมีอาหารสะสมอยู่น้อยแต่ด้านในมีอาหารสะสมอยู่มาก ตรงส่วนกลางของใบเกล็ดที่อยู่ติดกับลำต้นจะเป็นตา ซึ่งจะงอกออกมาเป็นใบสีเขียวๆ ได้แก่ หัวหอม หัวกระเทียม และพลับพลึง 
  • 2.4คอร์ม (corm) เป็นลำต้นใต้ดินที่ตั้งตรง เช่นเดียวกับบัลบ์แต่มีอาหารสะสมไว้ในลำต้นไม่ได้สะสมไว้ในใบเกล็ดอย่างบัลบ์ สามารถมองเห็นข้อปล้องได้อย่างชัดเจนนอกจากนี้ยังมีใบเกล็ดบริเวณข้อทำหน้าที่หุ้มตาซึ่งจะงอกเป็นใบต่อไป ลำต้นชนิดคอร์ม ได้แก่ เผือก ซ่อนกลิ่น ฝรั่ง บัวสวรรค์ แห้วจีน เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น