วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การย่อยอาหารของ โพรทิสต์ และสัตว์

  • ฟังไจ  มักเป็น saprophyte  จึงปล่อยน้ำย่อยออกมาย่อยซากอินทรีย์ที่เกาะ  แล้วดูดซึมอนุภาคสารเข้าเซลล์
  • อะมีบา  จะยื่น  pseudopodium  เพื่อเขมือบ  (phagocytosis)  อาหารเข้าไปย่อยในเซลล์
  • พารามีเซียม  พัดโบก  cilia ที่  oral  groove  (ร่องปาก)  ให้อาหารเข้าสู่เซลล์แล้วกลายเป็น  food  vacuole  แล้วจึงย่อยในเซลล์
  • ยูกลีนา  ปกติเป็น  autotroph  แต่ในภาวะที่ไม่มีแสงก็สามารถเป็น  hetetroph  ได้โดยดูดซึมสารต่างๆเข้าหาตัว
  • ฟองน้ำ  ดักจับอาหารด้วย  collar  cell  (choanocyte)  ที่มี  flagellum  ตวัดอาหารเข้าไปย่อยในเซลล์  และมี  amoebocyte  ช่วยย่อย + แจกจ่ายอาหาร
  • ไฮดรา  มีทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์  เรียก  gastrovascular  cavity  ดักจับเหยื่อด้วยหนวด  (tentacle)  เข็มพิษ  (nematocyst)  อยู่บนเซลล์  cnidocyte  แล้วทำการย่อยนอกเซลล์ด้วยน้ำย่อยจากเซลล์ต่อม  (gland  cell)  จนได้อาหารชิ้นเล็กๆ  เซลล์ย่อยอาหาร  (nutritive cell)  จึงเขมือบเข้าไปย่อยเซลล์ต่ออีกทีหนึ่ง
  • พลานาเรียมีทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์  มีคอหอย (pharynx)  ดักจับอาหาร  ทางเดินอาหารแตกเป็นสองข้าง  เรียก  diverticulum  ส่วนพยาธิตัวตืด  ไม่มีทางเดินอาหาร  แต่ดูดซึมสารอาหารที่ย่อยแล้วของโฮสต์โดยการแพร่  ลำตัวจึงต้องมีปล้องมากและแบนสุดๆ
  • ไส้เดือนดินและแมลงมีกระเพาะพัก  (crop)  ใช้พักอาหาร  และกึ๋น  (gizzard)  ใช้บดอาหาร  เปรียบเสมือนฟันของมนุษย์  ในแมลงนั้นระหว่าง  stomach  กับ  intestine  มี  Malpighian  tubule  เป็นอวัยวะขับถ่ายระหว่าง  gizzard  กับ  stomach  มีต่อมสร้างน้ำย่อย  และยังพบต่อมน้ำลายใกล้ๆปาก  ส่วนในกุ้ง  มีมันกุ้งเป็นอวัยวะสร้างน้ำย่อย
  • สัตว์ชั้นสูงที่กินพืช  (herbivore)  หรือกินทั้งพืชและเนื้อ  (omnivore)  ฟันจะไม่แหลม  ตับสร้างน้ำดีน้อย  ลำไส้ยาว  เพราะพืชมีผนังเซลล์ซึ่งย่อยยาก  และมีจุลินทรีย์อยู่แบบ  mutualismช่วยสร้างน้ำย่อย  พบตามทางเดินอาหารโดยเฉพาะลำไส้ใหญ่ส่วน  caecum  ที่มีขนาดใหญ่  แต่สัตว์กินเนื้อ  (carnivore)  ฟันจะแหลม  เขี้ยวเยอะผลิตน้ำดีได้มากกว่า  ลำไส้สั้นกว่า  และลำไส้ใหญ่ส่วน  caecum  เล็กกว่า


การย่อยอาหาร

  • 1.สิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารเองได้เรียกautotroph เชิงนิเวศวิทยาเรียกว่า ผู้ผลิต  (producer)
  • 2.สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองไม่ได้  เรียก  heterotroph  ในเชิงนิเวศวิทยาแบ่งเป็น  ผู้บริโภค  (consumer)  และ  ผู้ย่อยสลาย  (decomposer)  ซึ่งจำเป็นต้องมีการย่อยอาหารเพื่อให้ได้อนุภาคเล็กๆแล้วนำไปสร้างพลังงาน  การย่อยอาหารแบ่งออกเป็น
- การย่อยในเซลล์  (intracellular  digestion)  จะนำอาหารเข้าเซลล์เป็น  food  vacuole  แล้ว  lysosome  จะมาสลายอาหารให้ได้อนุภาคเล็กๆ  เพื่อนำไปสร้างอาหาร  กากอาหารที่ย่อยไม่ได้ก็ถูกส่งออกนอกเซลล์ไป
- การย่อยนอกเซลล์  (extracellular  digestion)  จะปล่อยน้ำย่อยออกมาย่อยนอกเซลล์จนได้อนุภาคเล็กๆ  แล้วจึงดูดซึมเข้าเซลล์เพื่อสร้างพลังงาน  ส่วนที่ย่อยไม่ได้ก็เป็นกาก  ไม่มีการดูดซึม  เช่น  การหลั่งน้ำย่อยออกมาในทางเดินอาหารของมนุษย์  ส่วนคำว่า  saprophytism  เป็นการย่อยนอกเซลล์ประเภทหนึ่ง  ที่หลั่งน้ำย่อยออกมานอกร่างกาย  แล้วดูดซึมสารที่ย่อยได้จากสารอินทรีย์เข้าสู่เซลล์  พบใน  decomposer  คือฟังไจ  และแบคทีเรียบางชนิด  เช่น  เห็ดย่อยขอนไม้  ราสลายซากสัตว์
- การย่อยเชิงกล  (mechanical  digestion)  ทำให้อาหารเล็กลง  พื้นที่ผิวมากขึ้น  คือเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ  เพื่อให้ย่อยเชิงเคมีได้ง่ายขึ้น
- การย่อยเชิงเคมี  (chemical  digestion)  คือ  hydrolysis  ของอาหารโดยใช้น้ำย่อย เกิดปฏิกิริยาเคมี

ประเภทของเซลล์

เซลล์สองประเภท
Prokaryotic cell
Eukaryotic cell
Nuclear membrane
ไม่มี
มี
นิวเคลียสและสารพันธุกรรม
ไม่มีนิวเคลียส มีโครโมโซม 1 แท่ง
เกิดจาก DNA + โปรตีนที่ไม่ใช่ histone  อาจพบ[ plasmid (DNA วงแหวนใน cytoplasm)
มีนิวเคลียสและโครโมโซมหลายแท่งเกิดจาก DNA + โปรตีน histone
Cellular respiration
เกิดที่ mesosome (เยื่อหุ้มเซลล์ที่ยื่นเข้ามา)
เกิดใน mitochondria
photosynthesis
เกิดที่ส่วนของเยื่อเซลล์ที่มี่ chlorophyll
เกิดใน chloroplast ที่มี chlorophyll
Organelle
ไม่มี nucleolus, centriole, cytoskeleton, organelle ที่มีเยื่อหุ้มทั้งหมด มี 70s ribosome (ขนาดเล็ก) ถ้ามี flagellum จะไม่ใช่ tubulin และ ไม่ใช่ 9+2
มี organelle ต่างๆตามความเหมาะสมของหน้าที่ของเซลล์ มี 80s ribosome (ขนาดใหญ่) อาจมี  cilia หรือ flagellum ที่เกิดจากโปรตีน tubulin
ตัวอย่างเช่น
Bacteria cyanobacteria
ฟังไจ โพรทิสต์ พืช สัตว์