- ฟังไจ มักเป็น saprophyte จึงปล่อยน้ำย่อยออกมาย่อยซากอินทรีย์ที่เกาะ แล้วดูดซึมอนุภาคสารเข้าเซลล์
- อะมีบา จะยื่น pseudopodium เพื่อเขมือบ (phagocytosis) อาหารเข้าไปย่อยในเซลล์
- พารามีเซียม พัดโบก cilia ที่ oral groove (ร่องปาก) ให้อาหารเข้าสู่เซลล์แล้วกลายเป็น food vacuole แล้วจึงย่อยในเซลล์
- ยูกลีนา ปกติเป็น autotroph แต่ในภาวะที่ไม่มีแสงก็สามารถเป็น hetetroph ได้โดยดูดซึมสารต่างๆเข้าหาตัว
- ฟองน้ำ ดักจับอาหารด้วย collar cell (choanocyte) ที่มี flagellum ตวัดอาหารเข้าไปย่อยในเซลล์ และมี amoebocyte ช่วยย่อย + แจกจ่ายอาหาร
- ไฮดรา มีทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์ เรียก gastrovascular cavity ดักจับเหยื่อด้วยหนวด (tentacle) เข็มพิษ (nematocyst) อยู่บนเซลล์ cnidocyte แล้วทำการย่อยนอกเซลล์ด้วยน้ำย่อยจากเซลล์ต่อม (gland cell) จนได้อาหารชิ้นเล็กๆ เซลล์ย่อยอาหาร (nutritive cell) จึงเขมือบเข้าไปย่อยเซลล์ต่ออีกทีหนึ่ง
- พลานาเรียมีทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์ มีคอหอย (pharynx) ดักจับอาหาร ทางเดินอาหารแตกเป็นสองข้าง เรียก diverticulum ส่วนพยาธิตัวตืด ไม่มีทางเดินอาหาร แต่ดูดซึมสารอาหารที่ย่อยแล้วของโฮสต์โดยการแพร่ ลำตัวจึงต้องมีปล้องมากและแบนสุดๆ
- ไส้เดือนดินและแมลงมีกระเพาะพัก (crop) ใช้พักอาหาร และกึ๋น (gizzard) ใช้บดอาหาร เปรียบเสมือนฟันของมนุษย์ ในแมลงนั้นระหว่าง stomach กับ intestine มี Malpighian tubule เป็นอวัยวะขับถ่ายระหว่าง gizzard กับ stomach มีต่อมสร้างน้ำย่อย และยังพบต่อมน้ำลายใกล้ๆปาก ส่วนในกุ้ง มีมันกุ้งเป็นอวัยวะสร้างน้ำย่อย
- สัตว์ชั้นสูงที่กินพืช (herbivore) หรือกินทั้งพืชและเนื้อ (omnivore) ฟันจะไม่แหลม ตับสร้างน้ำดีน้อย ลำไส้ยาว เพราะพืชมีผนังเซลล์ซึ่งย่อยยาก และมีจุลินทรีย์อยู่แบบ mutualismช่วยสร้างน้ำย่อย พบตามทางเดินอาหารโดยเฉพาะลำไส้ใหญ่ส่วน caecum ที่มีขนาดใหญ่ แต่สัตว์กินเนื้อ (carnivore) ฟันจะแหลม เขี้ยวเยอะผลิตน้ำดีได้มากกว่า ลำไส้สั้นกว่า และลำไส้ใหญ่ส่วน caecum เล็กกว่า
วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
การย่อยอาหารของ โพรทิสต์ และสัตว์
การย่อยอาหาร
- 1.สิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารเองได้เรียกautotroph เชิงนิเวศวิทยาเรียกว่า ผู้ผลิต (producer)
- 2.สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองไม่ได้ เรียก heterotroph ในเชิงนิเวศวิทยาแบ่งเป็น ผู้บริโภค (consumer) และ ผู้ย่อยสลาย (decomposer) ซึ่งจำเป็นต้องมีการย่อยอาหารเพื่อให้ได้อนุภาคเล็กๆแล้วนำไปสร้างพลังงาน การย่อยอาหารแบ่งออกเป็น
- การย่อยในเซลล์
(intracellular digestion) จะนำอาหารเข้าเซลล์เป็น food
vacuole แล้ว lysosome จะมาสลายอาหารให้ได้อนุภาคเล็กๆ เพื่อนำไปสร้างอาหาร กากอาหารที่ย่อยไม่ได้ก็ถูกส่งออกนอกเซลล์ไป
- การย่อยนอกเซลล์ (extracellular digestion) จะปล่อยน้ำย่อยออกมาย่อยนอกเซลล์จนได้อนุภาคเล็กๆ แล้วจึงดูดซึมเข้าเซลล์เพื่อสร้างพลังงาน ส่วนที่ย่อยไม่ได้ก็เป็นกาก ไม่มีการดูดซึม เช่น
การหลั่งน้ำย่อยออกมาในทางเดินอาหารของมนุษย์ ส่วนคำว่า
saprophytism เป็นการย่อยนอกเซลล์ประเภทหนึ่ง
ที่หลั่งน้ำย่อยออกมานอกร่างกาย
แล้วดูดซึมสารที่ย่อยได้จากสารอินทรีย์เข้าสู่เซลล์ พบใน decomposer คือฟังไจ และแบคทีเรียบางชนิด เช่น
เห็ดย่อยขอนไม้ ราสลายซากสัตว์
- การย่อยเชิงกล (mechanical digestion) ทำให้อาหารเล็กลง พื้นที่ผิวมากขึ้น คือเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เพื่อให้ย่อยเชิงเคมีได้ง่ายขึ้น
- การย่อยเชิงเคมี (chemical digestion) คือ hydrolysis ของอาหารโดยใช้น้ำย่อย
เกิดปฏิกิริยาเคมี
ประเภทของเซลล์
เซลล์สองประเภท
|
Prokaryotic
cell
|
Eukaryotic
cell
|
Nuclear
membrane
|
ไม่มี
|
มี
|
นิวเคลียสและสารพันธุกรรม
|
ไม่มีนิวเคลียส
มีโครโมโซม 1
แท่ง
เกิดจาก DNA + โปรตีนที่ไม่ใช่ histone
อาจพบ[ plasmid (DNA วงแหวนใน cytoplasm)
|
มีนิวเคลียสและโครโมโซมหลายแท่งเกิดจาก
DNA
+ โปรตีน histone
|
Cellular
respiration
|
เกิดที่ mesosome (เยื่อหุ้มเซลล์ที่ยื่นเข้ามา)
|
เกิดใน mitochondria
|
photosynthesis
|
เกิดที่ส่วนของเยื่อเซลล์ที่มี่
chlorophyll
|
เกิดใน chloroplast
ที่มี chlorophyll
|
Organelle
|
ไม่มี nucleolus,
centriole, cytoskeleton, organelle ที่มีเยื่อหุ้มทั้งหมด มี 70s
ribosome (ขนาดเล็ก) ถ้ามี flagellum จะไม่ใช่
tubulin และ ไม่ใช่ 9+2
|
มี organelle ต่างๆตามความเหมาะสมของหน้าที่ของเซลล์ มี 80s ribosome (ขนาดใหญ่) อาจมี cilia หรือ flagellum ที่เกิดจากโปรตีน tubulin
|
ตัวอย่างเช่น
|
Bacteria
cyanobacteria
|
ฟังไจ
โพรทิสต์ พืช สัตว์
|
วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558
เฉลยข้อสอบ O-net วิชาวิทยาศาสตร์ (ชีววิทยา) ปี 2550
เฉลยข้อสอบ O-net วิชาวิทยาศาสตร์ (ชีววิทยา) ปี 2550- ข้อ 1
1. ข้อความใดถูกต้องเกี่ยวกับการแบ่งเซลล์บริเวณปลายรากหอม
1. ข้อความใดถูกต้องเกี่ยวกับการแบ่งเซลล์บริเวณปลายรากหอม
1.เป็นการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส
2.เมื่อสิ้นสุดการแบ่งเซลล์จะได้เซลล์ใหม่ 4 เซลล์
3.เซลล์ใหม่ที่เกิดขึ้นมีจำนวนโครโมโซมเท่าเดิม
4.เซลล์ใหม่ที่เกิดขึ้นเกิดจากการคอดของเยื่อหุ้มเซลล์
เฉลย ตอบข้อ 3.เซลล์ใหม่ที่เกิดขึ้นมีจำนวนโครโมโซมเท่าเดิม
คำอธิบาย: ที่บริเวณปลายรากของพืช แบ่งได้ 4 บริเวณ และมีส่วนที่เรียกว่า บริเวณเซลล์แบ่งตัวหรือบริเวณเนื้อเยื่อเจริญ (meristermatic zone) ส่วนนี้จะมีการแบ่งเซลล์แบบ ไมโทซิส ตลอดเวลา ซึ่งวิธีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสนั้น ผลที่ได้จากการเเบ่งเซลล์ คือได้เซลล์ใหม่ที่เกิดขึ้นจะเหมือนกับเซลล์เดิมทุกประการ และ มีจำนวนโครโมโซมเท่ากับเซลล์เดิม คะ
ที่บริเวณปลายรากของพืช แบ่งได้ 4 บริเวณ ดังนี้
(1) บริเวณหมวกราก (root cap)
เป็นส่วนปลายที่สุดของราก
หมวกรากมีหน้าที่ในการปกคลุมป้องกันไม่ให้เซลล์ที่บริเวณปลายรากถูกทำลายเซลล์หมวกรากมีสารเมือกซึ่งเป็นพอลิแซ็กคาไรด์ช่วยป้องกันอันตรายจากสารต่างๆ
ในดิน ป้องกันไม่ให้ปลายรากแห้งและช่วยละลายแร่ธาตุด้วย เซลล์ส่วนที่อยู่ด้านนอกของหมวกรากและบุบสลายอยู่เสมอ
เนื่องจากรากเจริญและหยั่งลึกลงไปในดิน
ดังนั้นส่วนของเซลล์ที่บริเวนปลายรากจึงต้องแบ่งตัวสร้างหมวกรากขึ้นมาแทนอยู่เสมอด้วย
ดังนั้นที่ปลายรากจึงมีส่วนของหมวกรากหุ้มอยู่ตลอดเวลา
(2) บริเวณเซลล์แบ่งตัวหรือบริเวณเนื้อเยื่อเจริญ
(meristermatic zone)
เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากหมวกรากขึ้นมา เซลล์บริเวณนี้คือเนื้อเยื่อเจริญปลายราก (apical
meristem)
เซลล์มีแบ่งตัวอยู่ตลอดเวลาทำให้รากเจริญและขยายขนาดยาวขึ้น เซลล์มักมีขนาดเล็ก
ผนังเซลล์บาง ภายในมีโพรโทพลาซึมปริมาณมากเมื่อแบ่งเซลล์จะได้หมวกรากและเซลล์ที่มีรูปร่างยาวขึ้น
(3) บริเวณเซลล์ที่มีการยืดตัว ( zone of cell elongation ) เป็นบริเวณที่อยู่ถัดจากเนื้อเยื่อเจริญโดยเซลล์ที่ได้จากการแบ่งตัวมีการขยายขนาดและยืดตัวตามความยาวของราก
ดังนั้นเซลล์บริเวณนี้จึงยาวกว่าเซลล์บริเวณอื่นๆ และทำให้ปลายรากยาวขึ้นด้วย
(4 ) บริเวณขนราก (root hair zone)
เป็นบริเวณปลายรากที่มีขนรากยื่นออกมามาก บริเวณนี้เซลล์ไม่มีการยืดตัวแล้ว
แต่เป็นบริเวณที่มีการดูดน้ำและแร่ธาตุให้แก่พืชจึงเป็นบริเวณที่มีความสำคัญต่อพืชเป็นอย่างมาก
บริเวณขนรากและบริเวณที่อยู่เหนือขนรากขึ้นมาเซลล์บริเวณนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปเพื่อทำหน้าที่ต่างๆ
มีการเปลี่ยนแปลงทั้งส่วนประกอบภายในและรูปร่างเพื่อให้เหมาะสมกับหน้าที่ เช่น
ท่อลำเลียงน้ำหรือไซเลม (xylem) ท่อลำเลียงอาหาร
หรือโฟลเอ็ม ( phloem )
(5) บริเวณเซลล์เจริญเติบโตเต็มที่ (region of maturation)
อยู่ในบริเวณขนรากและบริเวณส่วนที่ถัดขึ้นไปและเป็นบริเวณที่เป็นเนื้อเยื่อถาวร
เนื้อเยื่อพืชทั้งพืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
เมื่อตัดตามขวางตรงบริเวณที่เจริญเติบโตเต็บที่แล้วจะพบบริเวณต่างๆ
ของเนื้อเยื่อเรียงจากด้านนอกเข้าได้ในเป็นชั้นๆ ดังนี้
คลิก--> เฉลยข้อสอบ O-net วิชาวิทยาศาสตร์ (ชีววิทยา) ปี 2550- ข้อ 2
วันเสาร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2558
เอกสารแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปี 2014 วิชาสังคมศึกษา
น้อง ๆ สามารถดาวน์โหลด
ไฟล์หนังสือเรียนโครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปี 2014 ได้ที่นี่เลย
วิชาสังคมศึกษา
เอกสารแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปี 2014 วิชาภาษาอังกฤษ
น้อง ๆ สามารถดาวน์โหลด
ไฟล์หนังสือเรียนโครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปี 2014 ได้ที่นี่เลย
วิชาภาษาอังกฤษ
เอกสารแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปี 2014 วิชาภาษาไทย
น้อง ๆ สามารถดาวน์โหลด
ไฟล์หนังสือเรียนโครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปี 2014 ได้ที่นี่เลย
วิชาภาษาไทย
เอกสารแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปี 2014 วิชาฟิสิกส์
น้อง ๆ สามารถดาวน์โหลด
ไฟล์หนังสือเรียนโครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปี 2014 ได้ที่นี่เลย
วิชาฟิสิกส์
เอกสารแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปี 2014 วิชาชีววิทยา
น้อง ๆ สามารถดาวน์โหลด
ไฟล์หนังสือเรียนโครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปี 2014 ได้ที่นี่เลย
วิชาชีววิทยา
เอกสารแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปี 2014 วิชาเคมี
น้อง ๆ สามารถดาวน์โหลด
ไฟล์หนังสือเรียนโครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปี 2014 ได้ที่นี่เลย
วิชาเคมี
เอกสารแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปี 2014 วิชาคณิตศาสตร์
น้อง ๆ สามารถดาวน์โหลด
ไฟล์หนังสือเรียนโครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปี 2014 ได้ที่นี่เลย
วิชาคณิตศาสตร์
เอกสารแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปี 2014 วิชา GAT ความคิดเชื่อมโยง
น้อง ๆ สามารถดาวน์โหลด
ไฟล์หนังสือเรียนโครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ ปี 2014 ได้ที่นี่เลย
วิชา GAT ความคิดเชื่อมโยง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)