วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กล้องจุลทรรศน์และการค้นพบหน่วยของสิ่งมีชีวิต

หลายๆ คน คงจะเคยสัมผัส กล้องจุลทรรศน์ กันมาแล้ว ตั้งแต่ เคยส่องวัตถุเล็กๆ จนไปถึงการ ใช้ประโยชน์จากกล้องจุลทรรศน์ แต่กว่าจะมีกล้องจุลทรรศน์ที่ทันสมัย เอามาใช้ในปัจจุบัน ต้องคิดค้นกันมาหลายปี ในบล๊อกนี้ ลองมาทำความรู้จัก นักประดิษฐ์ หรือผู้คิดค้นกล้องจุลทรรศน์กันดีกว่าคะ

การศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต  ได้มีการศึกษากันมานานแล้ว  ส่วนเรื่องโครงสร้างขนาดเล็กที่เป็นพื้นฐานข้อนี้ยังไม่มีใครทราบข้อมูลมากนัก  จนกระทั่งปี ค.ศ. 1665 (พ.ศ. 2208)  รอเบิร์ต  ฮุก  นักวิทยาศาสตร์ ชาวอังกฤษ ได้ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ที่มีคุณภาพดี  และได้ส่องดูไม้คอร์กที่เฉือนบางๆ  และได้พบช่องเล็ก ๆ จำนวนมาก  จึงเรียกช่องเล็กๆ นี้ว่า เซลล์ (cell) เซลล์ที่ฮุกพบนั้นเป็นเซลล์ที่ตายแล้ว  การที่คงเป็นช่องอยู่ได้ก็เนื่องจากมีผนังเซลล์นั่นเอง
ค.ศ. 1673 (พ.ศ. 2216)  อันตน  ฟัน  เลเวนฮุก (Antony  Von  Leeuwenhoek) นักวิทยาศาสตร์ชาวฮอลันดา  ได้ประดิษฐ์แว่นขยายธรรมดาให้มีกำลังขยายมากขึ้น  และได้ส่องดูสิ่งต่างๆ เช่น เลือด  อสุจิ  น้ำ  จากแหล่งน้ำต่างๆ  ทำให้พบแบคทีเรีย  สาหน่าย  โพรโทซัว  และสัตว์น้ำขนาดเล็กหลายชนิด  และได้ส่งข้อมูลเผยแพร่ทำให้ได้รับชื่อเสียงว่าเป็นผู้พบจุลินทรีย์เป็นคนแรก
ค.ศ. 1824 (พ.ศ. 2367)  ดิวโทเชท์ (Dutrochet)  ได้ศึกษาเนื้อเยื่อพืชและเนื้อเยื่อสัตว์  พบว่าประกอบด้วยเซลล์อื่นๆ ของพืช พบว่ามีก้อนกลมขนาดเล็กอยู่ตรงกลาง  จึงให้ชื่อก้อนกลมนี้ว่านิวเคลียส (nucleus) ชาวเยอรมันได้ศึกษาเนื้อเยื่อพืชต่างๆ  และสรุปว่าเนื้อเยื่อทุกชนิดประกอบเซลล์
ค.ศ. 1838 (พ.ศ. 2381)  มัตทิอัส  ยาคบ ชไลเคน (Matthias  Jokob  Schleiden)  นักพฤกศาสตร์  ชาวเยอรมันได้ศึกษาเนื้อเยื่อพืชต่างๆ และสรุปว่าเนื้อเยื่อทุกชนิดประกอบด้วยเซลล์
ค.ศ. 1839 (พ.ศ. 2382)  เทโอดอร์  ชวันน์ (Theodor  Shwann)  นักสัตววิทยาชาวเยอรมัน  ได้ศึกษาเนื้อเยื่อสัตว์ต่างๆ แล้วสรุปว่าเนื้อเยื่อสัตว์ทุกชนิดประกอบขึ้นด้วยเซลล์  ดังนั้นในปีเดียวกันนี้  ชวันน์และชไลเดน  จึงได้ร่วมกันตั้งทฤษฎีเซลล์ (cell theory)  ซึ่งมีใจความสำคัญว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหลายประกอบขึ้นด้วย เซลล์ และเซลล์คือหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด
ค.ศ. 1839 (พ.ศ. 2382)  พูร์คินเย (Purkinje)  นักสัตววิทยา ชาวโบฮีเมีย (เชโกสโลวาเกีย) ได้ศึกษาไข่และตัวอ่อนของสัตว์ต่างๆ ได้พบว่าภายในมีของเหลวใส  เหนียว  และอ่อนนุ่ม  จึงได้เรียกของเหลวใสนี้ว่าโพรโทพลาซึม (protoplasm)
ค.ศ. 1868 (พ.ศ. 2411)  ทอมัส  เฮนรี ฮักซ์ลีย์ (Thomas henry Huxley)  แพทย์ชาวอังกฤษศึกษาโพโทพลาซึม  และพบวา โพรโทพลาซึมเป็นรากฐานของชีวิตเนื่องจากปฏิกิริยาต่างๆ ของเซลล์เกิดขึ้นที่โพรโทพลาซึม

ค.ศ. 1880 (พ.ศ. 2423)  วัลเทอร์ เฟลมมิง (Walther Flemming)  นักชีววิทยาชาวเยอรมันได้ค้นพบว่าภายในนิวเคลียสของเซลล์ต่างๆ มีโครโมโซม ต่อจากนั้นการศึกษาเรื่อง เซลล์ก็พัฒนาไปมากขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  เมื่อมีการนำกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนมาใช้  ทำให้การศึกษาโครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ได้ละเอียดมากยิ่งขึ้น
ในบล๊อกหน้า เราจะมารู้จัก ประเภทของกล้องจุลทรรศน์ และวิธีการใช้กล้องจุลทรรศน์ กันนะคะ โปรดติดตามด้วยนะคะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น